Saturday, May 28, 2011

Norma Kamali

ทั้งพล่าม รวบรวม เรียบเรียง เรื่อง “นอร์ม่า” นี่ยาวมากกกกก…. เขียนทีละนิด ละหน่อย อยู่หลายเดือน พอบล็อกถล่ม หายโม้ดดดด…. ท้อเลย คงอีกนานกว่าอิชั้นจะ “ฮึด” แล้วจะมาเล่าให้ฟังใหม่ค่ะ…เมื่อฮึด 5555

Norma Kamali _betab

Norma Kamali Eagle

Norma Kamalil_06

norma-kamali-collection

norma-kamali-wal-mart

NormaKSPRING-JERSEY-ALLINONE-TOP-3

Norma Kamali - Women's All-in-One Jersey Dress-1-vert

Norma Kamali133-tile

norma-kamali-spring-2010-06

Thursday, May 19, 2011

Psoriasis Living - อยู่กับสะเก็ดเงิน

โปรดทราบ….บล็อกเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงินนี้ เป็นบล็อกที่ยังเขียนไม่เสร็จสมบูรณค่ะ อิชั้นได้เขียนเพิ่มเติมทีละนิดละหน่อยอยู่เรื่อยๆ และจะพยายามเขียนให้ครบถ้วนทุกสภาพอาการที่เกิดขึ้นกับอิชั้น ซึ่งมีเยอะแยะมากมายเหลือเกิน รวมทั้งการรักษาและยาที่เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ลดยา อยู่ตลอด อาจทำให้สับสนวกวนเวลาอ่านบ้างเพราะเรียบเรียงได้ไม่ดี นึกออกก็มาเพิ่ม อาจทำให้ไม่ปะติดปะต่อได้ดีเท่าที่ควร ขออภัยด้วยนะคะ  ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจแวะเข้ามาอ่าน กรุณาแวะมาอ่านเรื่อยๆ นะคะ ขอบคุณค่ะ

ประมาณ 14-15 ปีโน้นนนนน….. อิชั้นมีอาการอันน่ารังเกียจ น่ารำคาญอยู่อย่างนึงค่ะ คือ หนังศีรษะตรงท้ายทอยด้านขวาคันยุกยิกอยู่ตลอดเวลา คัน คัน คัน โคตรคัน คันมาก คันน้อย ตามดวงค่ะ พอคันแล้วจะต้องทำอะไรให้ยุ่งยาก เครื่องไม้เครื่องมือก็ไม่จำเป็น เกาเข้าไปสิคะ เกา เกา เกา พอต่อๆ มาก็เคยชินกับอาการคัน พอทนได้ ไม่ได้รกใจมากมาย ไม่คิดว่าเป็นปัญหาอะไรใหญ่โต วินิจฉัยโรคเอง…555 ได้ความว่า…น่าจะเกิดจากอิชั้นชอบสระผมก่อนนอน เพราะผมดัดต้องใส่มูสทุกวัน สระแล้วก็นอนเลยเลย บางคืนก็แห้งดี บางคืนก็แค่หมาดๆ คือสระแล้วก็เอาผ้าขนหนูห่อๆ พันๆ ไว้ ทาโลชั่นดูทีวี นอนอ่านหนังสือ ฯลฯ ง่วงก็หลับไปเลย พอมีอาการที่เล่ามาข้างต้น ก็เลยเป่าผมให้แห้งด้วยพัดลมก่อนนอน ไม่ใช้ไดร์ เพราะผมเสียและแห้งเป็นทุนอยู่แล้วค่ะ อาการก็ไม่ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้คิดว่ามันหนักหนาจนต้องไปพบแพทย์

ตรงบริเวณที่คัน “กะ” ได้เองว่าประมาณขนาดเหรียญสิบบาท ไม่ใหญ่ไปกว่านั้น เวลาเกา ตามคอเสื้อ ปกเสื้อด้านซ้ายก็จะมีเหมือนรังแคร่วง ดูสกปรก น่ารังเกียจ อยู่ตลอดเวลา จนมือสามารถทำงานได้อัตโนมัติ พอว่างๆ นึกได้ ก็จะไปปัดรังควานไล่หิมะออกจากคอเสื้อ เมื่อก่อนยัง..ง่าววววว…. อยู่มาก นึงถึงความอ้วนเป็นหลัก เลยชอบใส่เสื้อผ้ามีมืดๆ เพื่อพรางไขมัน เสื้อผ้า มืดๆ ดำๆ ปุยหิมะก็จะเด่นชัด บางทีลืมปัดรังควาน ก็เดินเพ่นพ่านในออฟฟิซ หรือที่ไหนๆ ให้ผู้คนมองแล้ว “ยี้” ใส่อยู่บ่อยๆ

ต่อมาไม่นานอาการคันยังคงอยู่ ไม่ดีขึ้น ไม่เลวลง ตรงที่คันๆ อยู่ก็ไม่ได้ขยายใหญ่ขึ้นแต่อย่างใด แต่เวลาที่เกา โดยเฉพาะช่วงที่ไม่ได้ตัดเล็บ ก็จะแกะ เกา ได้มันสะใจจริงนะ ช่วงนั้นก็จะเกิด Art of การเกา 555 คือจะบรรจงแกะ แคะ คุ้ย ให้สะเก็ดไม่แตก ค่อยๆ แคะ เลาะไปรอบๆ พอได้ที่แล้วก็ค่อยๆ ดึงอย่างบรรจงไม่ให้มันขาด รูดออกมาจากเส้นผมบริเวนนั้นอย่างทะนุถนอม บางทีลอกออกมาได้เป็นแผ่น แหม…. เก่งเว้ยยยย…กรู นั่งชื่นชมซากหนังกบาลอย่างชื่นชม ประหนึ่งว่าเป็น a piece of art 555 แหวะเน๊าะ 5555….. อ่านแล้วห้ามอ้วกนะคะ 555 คือ suffer มานานมากแล้ว ก็เลยเปลี่ยนให้เป็นความบันเทิง และ enjoy มันซะหน่อย 555 แต่ไม่ได้เก็บไว้หรอกนะคะ ชื่นชมแป๊บนึงแล้วก็โยนลงตะกร้าผงไปค่ะ

อาการคันและบริเวณที่เป็นไม่ได้ขยายใหญ่ขึ้น แต่เป็น stage นั้นอยู่นานหลายปีมาก พยายามทำอยู่หลายอย่าง หาซื้อหยูกยาทา เปลี่ยนแชมพู ครีมนวด ฯลฯ คือทำทุกอย่างที่นึกออก และหาซื้อได้โดยไม่ได้ไม่หาหมอ โดยรวมๆ แล้วทนได้ ไม่รบกวนจิตใจอะไรมากมาบ เพื่อนๆ สนิทบางคนเห็นอิชั้นเกาตรงบริเวณที่เป็นอยู่ตลอดเวลาจนคุ้นตากันดี บ้างก็ล้อว่าเป็นสันนิบาตชนิดหนึ่ง บ้างก็ล้อว่าเป็นหมาขี้เรื้อน พอให้ขำๆ แล้วก็เลิกรากันไป

พอปี 2004 สามีบังคับให้อิชั้นไปหาหมอ คงเบื่อที่จะคอยปัดรังควานตามคอเสื้อและบ่าให้มั๊ง 555 ไม่ใช่หรอกค่ะ คือพ่อบ้านเห็นอิชั้นคันมากกว่าเดิมๆ และรังแค หรือ หิมะ ชั่งร่วงหล่นให้เห็นมากกว่าก่อน พอพี่แกเปิดผมดูก็บอกว่ามันชักลุกลามขยายใหญ่ขึ้น และที่ obvious เห็นได้เลยคือบริเวณตีนผมหลังหูด้านซ้ายด้วย เห็นเป็นขุยขาวๆ เลย ทำให้อิชั้นวิ่งแจ้นไปหาหมอผิวหนังอย่างไม่รอช้า

และแล้วนาทีที่หัวใจหดเหลือเท่าเม็ดถั่วเขียวก็ว่าได้ เมื่อ Dermatologist บอกว่าอิชั้นเป็น Psoriasis แล้วก็เปิดภาพที่น่า “แหวะ” ให้ดู 3-4 รูป เป็นรูปของผิวหนังที่เป็นโรคที่ว่า พอหมอบอกว่าโรคนี้เป็นกันไปจนตาย รักษาไม่หาย และถ่ายทอดทางพันธุกรรม หน้าร้อนอาการจะดีกว่าหน้าหนาว บลาๆๆๆ อิชั้นก็ฟังอย่างใจห่อเหี่ยว หมออธิบายอากร วิธีรักษา เน้นว่าไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่ลูกเต้าอาจเป็นโรคนี้ด้วย อิชั้นน้ำตาไหล ยัยหมอก็หัวเราะใหญ่เลย ร้องทำม๊ายยยย… stage ที่ยูเป็นอยู่เนี่ย เบบี้มากๆ คอนโทรลไม่ให้ลุกลามได้ อิชั้นเลยบอกไปว่า กลัวลูกจะเป็น แงๆๆๆๆ

Psoriasis is a common skin condition in which the immune system over reacts and creates an excess production of sebum on the skin.  It can be treated in one of two main ways; by the use of immune suppressant drugs that are take orally, or by the use of topical creams, lotions, or oils.  There are a number of different topical choices for treating psoriasis, ranging from strong corticosteroids to natural choices. 

ก็คุยกับหมออยู่แป๊บนึงได้ใบสั่งยามา พอออกจากคลีนิคก็วิ่งแจ้นไปซื้อยาเลยค่ะ ยาทั้งหมดทั้งปวงที่หมอสั่งให้หาซื้อเองไม่ได้ ต้องให้แพทย์สั่งเท่านั้น จะมีก็แชมพูที่ซื้อได้เองตามร้านทั่วๆ ไป มาดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง อย่างแรกเลยคือแชมพูซึ่งไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ค่ะ เป็น medicated shampoo produced by Neutrogena คือ T/Gel® Therapeutic Shampoo (1% Coal Tar) เวลาสระผมจะได้กลิ่นน้ำมันดิน เพราะมี Coal Tar เป็น active ingredient ให้สระวันเว้นวัน เวลาสระให้แชมพูทิ้งไว้อย่างน้อย 5 นาทีถึงล้างออก เพื่อให้ตัวยาซึมซาบเข้าไปในที่เกิดเหตุ ถ้าล้างออกเลยก็ไร้ประโยชน์ค่ะ ควรใช้วิธีนี้กับแชมพูกำจัดรังแคทั่วไปด้วยค่ะ พอล้างออกแล้ว-อยากใช้ครีมนวดก็เลือกใช้ได้ตามใจชอบ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ต่อมาคือ Derma-Smoothe/FS (fluocinolone topical oil) ใครที่แพ้ถั่วลิสงหรือถั่วต่างๆ ห้ามใช้นะคะ เพราะมีส่วนผสมเป็นน้ำมันถั่วลิสงค่ะ อันนี้ไม่ใช่ยาแต่เป็นโซลูชั่นที่ใช้ลอกสะเก็ด และ Plaque ยังใช้รักษาโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ แบบ eczema ได้ด้วย วิธีใช้ยุ่งยากและเลอะเทอะนิดนึงค่ะ หมอสั่งว่าก่อนเข้านอนให้ชโลมหนังศีรษะบริเวณที่เป็นให้ชุ่ม แล้วใส่หมวกพลาสติกคลุมไว้ อิชั้นเอาผ้าขนหนูพันทับด้วยนะคะ พอตื่นมาหลุดเลอะเทอะหมอน แล้วกลิ่ม อืมมม…. อธิบายยาก เค้าใส่น้ำหอมมาแหละ แต่มันหอมหืนๆ พอเปรอะเลอะผ้าผ่อน ก็ซักรอยน้ำมันไม่ออกด้วยนะคะ กำจัดกลิ่นที่ติดผ้าขนหนูไม่ได้ด้วย ซักไปเหอะ…ไม่ออกร๊อก แต่ไม่ได้โยนทิ้งเก็บไว้ใช้เฉพาะกิจค่ะ หมอให้ทำขั้นตอนนี้อยู่ 5-7 คืนติดต่อกัน เพื่อให้สะเก็ดหลุดลอกออกมาให้หมด พอทายาตัวที่จะพูดถึงต่อไป..ก็จะได้ผลดี ถ้าไม่ทำขั้นตอนนี้ยาที่ทาไปก็จะเสียปล่าวค่ะ พอเริ่มทำได้ 2 คืน สะเก็ดหลุดร่อน ร่วงกราว ผิวตรงที่เป็นเรียบสวยเชียว หายคันเลยค่ะ แต่ต้องอดทนทำจนครบตามหมอสั่ง ตอนหลังๆ มาไม่หมักทิ้งทั้งคืนแล้วค่ะ หมักตอนกลางวันอยู่บ้านเดินไปมา ทำโน่นนี่ 4-5 ชั่วโมง แล้วก็สระล้างตามปกติ หมอนไม่เหม็น ไม่เลอะ เพียงเอาผ้าขนหนูผืนเล็กๆ พาดบ่าคล้องคอไว้กันเลอะหยดย้อยเสียหน่อยก็พอค่ะ  

IMG_3550

แถ่น แทน แท๊นนนนน…. มาถึงตัวพระเอก…OLUX Foam นั่นเอง เหมือนเป็น Superhero สำหรับอิชั้นเลยค่ะ OLUX Foam (0.5 mg clobetasol propionate, USP) เป็นโฟมใช้ทาบริเวรที่เป็น Psoriasis เป็น steroids ที่ค่อนข้างแรงมากที่เดียว จึงมีข้อห้ามเยอะมาก เช่น เด็กและคนท้องห้ามใช้ ห้ามใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เป็นต้น หมอสั่งให้ใช้ทาบางๆ บริเวณที่เป็นวันละครั้ง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ แล้วให้ลดลงเป็นวันเว้นวันอีก 1-2 สัปดาห์ จากนั้นก็ทาเพียงอาทิตย์ละ 2 ครั้ง พอหาดีแล้วก็หยุดใช้ tapering off ค่ะ พอใช้ไม่กี่วันก็หายดีค่ะ ถ้าเริ่มเป็น เห็นเป็นจุดๆ แดงๆ หรือคันๆ ก็รีบเอามาทา 2-3 วันก็หายไป ผิวเรียบไม่ทิ้งร่องรอยเลยค่ะ ถ้าหากปล่อยทิ้งให้เป็นเยอะๆ ก็ต้องกลับไปชโลมไอ้น้ำมัน derma smoothe อีก อิชั้นก็เลยต้องพยายามจับตาดูตามเนื้อตัว แขนขาตลอดเวลาค่ะ เจอปุ๊บก็ทาปั๊บเลย อิชั้นต้องไปพบหมอผิวหนังทุกๆ 3 เดือนค่ะ ส่วนใหญ่ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทั้งอาการและยา คือ อาการคงที่ไม่ progress ขยายหรือลุกลามออกไป ยาก็เหมือนเดิมถ้าอาการไม่เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลง

olux-page

ต่อมาไม่นาน หมอก็สั่งยาเพิ่มให้อีก 1 ชนิด ค่ะ Olux-E® (clobetasol propionate) Foam เพราะโอลักซ์โฟมสูตรดั้งเดิม เวลาทาบนหนังศีรษะหรือบนผิวหนังตามร่างกายจะรู้สึกแสบ burn โอลักซ์-อี จะไม่เบิร์น มันก็จริงนะคะที่ไม่แสบเวลาทา..แต่เวลาทาบนหนังศีรษะมันมันๆ เหนียวๆ หมือก็เลยสั่งให้ใช้โอลักซ์ธรรมดาบนกบาล และ โอลักซ์-อี ตามแขนขา อยากจะบอกว่าไอ้โฟมทั้ง 2 ตัวนี้ ราคาน่ากลัวมากๆ ราคาตั้งต้นประมาณหลอดละ $380-400 แต่ประกันรับผิดชอบไปซะส่วนใหญ่ๆ อิชั้นจ่ายส่วนที่เหลือ ตกประมาณหลอดละ $75-85 ค่ะ ทนใช้ยาราคาทองคำอยู่ตั้ง 6-7 ปี พอเศรษฐกิจของครอบครัวล่มสลาย (5555…ดราม่ามากๆ) ก็เลยต้องใช้ยา generic (รูปขวาล่าง) ถึงจะเป็นยา generic ก็ตกหลอดละ $25 ขาดตัว หลอดนึงถ้าใช้อย่างจริงจัง ไม่กระเหม็ดกระเเหม่ ก็ใช้ได้เกือบๆ 2 วีค แต่อิชั้นใช้อย่างประหยัดมากกก…. ลากไปได้เกือบๆ เดือนนึงค่ะ ยาของอิชั้นแพงๆ ทั้งนั้น เดือนนึงตกเกือบๆ $300 แล้วจะไม่ให้พ่อบ้านออกปากว่าเมียตู high-maintenance ได้ยังไง 555 แต่ที่ว่า high-maintenance ของพี่แก ไม่ได้หมายถึง อิชั้นต้องเข้าออกซาลอนปรุงรูปโฉมโนมพรรณ หรือ spurge กับ accessories ราคาแพงแต่อย่างใด หมดไปกับยาทั้งน๊านนนน…..

หลังจากที่ทำทำตามที่หมอสั่งอาการต่างๆ ก็หายไป ไม่คัน หิมะไม่ตก สบายใจเฉิบอยู่ได้ไม่นาน พอไปตรวจสุขภาพประจำปี 2-3 ปีให้หลัง พบว่าเป็นเบาหวานแบบอ่อนๆ ก็เลยต้องกินยาเบาหวาน ต่อมาท้องอีก ต้องงดยาหลายอย่าง ไอ้โรคขี้เรื้อนกำเริบ the affected skin flare up from time to time แรกๆ ไม่ทราบค่ะ เพราะพอคันหัวหน่อยนึง รังแคร่วงนิดนึง ก็พยายามทาโอลักซ์ไว้เรื่อยๆ ถือว่าคอนโทรลอยู่ แต่พอท้อง-และท้องตอนแก่มากแล้วด้วย ก็ห่วงเบบี้มาก คันก็ทนเอา พอคลอดก็ให้นมลูกอีก ถามหมอก็บอกทาโฟมโอลักซ์ได้ แต่พยายามให้น้อยๆ เลี่ยงได้ก็จะดี ไอ้ตี้ก็ดันฟาดนมแม่จนเกือบๆ 2 ขวบ พอลูกหย่านม อิชั้นก็รีบแจ้นไปหาหมอผิวหนังเลยค่ะ เค้าพบว่าไอโรคเวรโรคกรรมเนี่ย ได้ลามไปทั่วๆ แล้ว เห็นชัดๆ คือที่หัวเข่า ตาตุ่ม และข้อศอกค่ะ คราวนี้ได้ยามาหลากหลายมาก

ขอแทรกรายละเอียดของยาข้างต้นตรงนี้นะคะ (ภาคภาษาอังกฤษเลื่อนลงไปข้างล่างจะมีแปะไว้แล้วค่ะ)

Clobetasol propionate (Topical) (โคลเบทาซอลโพรพิโอเนต ชนิดใช้กับผิวหนัง)

 

คำอธิบายพอสังเขป

โคลเบทาซอลโพรพิโอเนต (clobetasol propionate) เป็นยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroids) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า สเตอรอยด์ อยู่ในรูปโพรพิโอเนต เอสเทอร์ (propionate ester) เบทาเมทาโซน มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบและการแพ้เช่น อาการระคายเคือง บวม แดง คัน
โคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clobetasol propionate) เป็นยาทาที่ใช้รักษาโรคผิวหนังในระยะเวลาสั้น ๆ สำหรับรักษาโรคผิวหนังซึ่งใช้ยาชนิดอื่นแล้วได้ผลน้อย เช่น

  • โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis)
  • ภาวะอักเสบของโรคผิวหนังที่เป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังมีลักษณะเป็นผื่นแดงที่มีสาเหตุจากภูมิแพ้ ที่ดื้อต่อการรักษา(recalcitrant eczema)
  • ไลเคนแพลนัส (lichen planus)
  • โรคดิสคอยด์ลูปัสอีริทีมาทัส (discoid lupus erythematous) และโรคผิวหนังชนิดอื่นซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาสเตอรอยด์ชนิดอื่นที่มีความแรงน้อยกว่า


ยาที่มีจำหน่าย ตามลิ้งค์นี้ไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมค่ะ เพราะชื่อยาเยอะแยะมากมายเหลือเกิน http://healthy.in.th/drug/clobetasol%20propionate%20(topical)%20/

ก่อนการใช้ยา

การแพ้ยา

โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใด ๆ หรือมีประวัติการแพ้ยาโคลเบทาซอล (clobetasol) หรือยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroids) หรือ ส่วนประกอบใด ๆ ในยานี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่น ๆ เช่น อาหาร, สารกันเสีย, สี เป็นต้น

อาหารและเครื่องดื่มที่ต้องระวัง

ท่านสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติเว้นแต่ว่าแพทย์ได้แจ้งท่านเป็นอย่างอื่น

ตั้งครรภ์

รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'C' สำหรับสตรีมีครรภ์

จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีรายงานการศึกษาที่ควบคุมอย่างดีในมนุษย์หรือ ไม่มีรายงานการศึกษาในมนุษย์และสัตว์ถึงผลของยาต่อตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ดังนั้น ควรใช้ยานี้เมื่อมีการประเมินแล้วว่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์

การทายากลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroid) ในสัตว์ทดลองที่กำลังตั้งท้อง ทำให้เกิดความผิดปกติของการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาในมนุษย์ที่กำลังตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ยาสเตอรอยด์ทาในปริมาณมากหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานในสตรีมีครรภ์

กำลังให้นมบุตร

ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยในการใช้โคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clobetasol propionate) ในสตรีระยะให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้และไม่ควรทายาบริเวณเต้านมในระหว่างที่ให้นมบุตร

เด็ก
  • ยังไม่มีการพิสูจน์ถึงความปลอดภัยและประสิทธิผลของการใช้โคลเบทาซอลโพรพิโอเนต (clobetasol propionate) ชนิดเจล ครีมและขี้ผึ้งในเด็ก จึงไม่แนะนำให้ใช้โคลเบทาซอลโพรพิโอเนต ชนิดเจล ครีมและขี้ผึ้ง ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • ไม่แนะนำให้ใช้โคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดสารละลายสำหรับใช้กับผิวหนัง (clobetasol propionate topical solution) ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • ไม่แนะนำให้ใช้โคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดแชมพู (clobetasol propionate shampoo) ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

เนื่องจากยาอาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดภาวะกดการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-ต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenal axis suppression)
ผู้สูงอายุ

การศึกษาการใช้โคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clobetasol propionate) ในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปยังมีจำนวนน้อย ซึ่งไม่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างของการตอบสนองต่อยาเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่วัยอื่น
โดยทั่วไปแล้วควรใช้โคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุมีการทำงานของตับ, ไต หรือ การทำงานของหัวใจที่ลดลง หรือมีภาวะโรคร่วมอื่นๆ ที่อาจเพิ่มอาการไม่พึงประสงค์จากยา

ยาอื่นที่ใช้อยู่

ถึงแม้ว่ายาบางอย่างไม่ควรใช้ร่วมกัน ในบางกรณีที่จำเป็นอาจใช้ร่วมกันได้ถึงแม้ว่าอันตรกิริยาอาจเกิดขึ้นก็ตาม โดยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาหรืออาจมีข้อควรระวังอื่น ๆ ที่จำเป็น โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านกำลังใช้ยาที่ทาบริเวณเดียวกันกับยาโคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clobetasol propionate)

ภาวะโรคร่วม

ปัญหาความเจ็บป่วยอื่นที่ท่านเป็นอยู่อาจส่งผลต่อการใช้ยาโคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clobetasol propionate)
ท่านควรแจ้งแพทย์หากท่านมีภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น

  • เบาหวาน
  • โรคไต
  • วัณโรค
  • ต้อหิน
  • แผลติดเชื้อไวรัส เช่น เริม อีสุกอีใส
  • ภาวะที่ผิวหนังบางจนเกิดรอยฟกช้ำได้ง่าย เนื่องจากการใช้ยาอาจทำให้มีอาการเลวลง

การใช้ที่ถูกต้อง

การใช้ยารูปแบบครีม เจล โลชั่นหรือขี้ผึ้ง

  • ก่อนใช้ยาควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาด
  • ใช้ยาปริมาณเพียงเล็กน้อย ทายาบาง ๆ ให้ทั่วบริเวณ
  • ควรหยุดใช้ยาเมื่อคุมอาการได้แล้ว ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ โดยที่ไม่ได้รับการตรวจดูอาการอีก
  • อาจทายาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ซ้ำอีกเพื่อควบคุมการกำเริบของโรค หากจำเป็นต้องรักษาด้วยยาสเตอรอยด์อย่างต่อเนื่องควรเปลี่ยนไปใช้ยาที่มีความแรงน้อยกว่าโคลเบทาซอลโพรพิโอเนต(clobetasol propionate)
  • สำหรับบริเวณที่รักษายาก โดยเฉพาะบริเวณที่มีผิวหนังหนา หากจำเป็นอาจต้องใช้แผ่นฟิล์มพลาสติกปิดคลุมบริเวณที่ทายาไว้ โดยปิดเฉพาะเวลากลางคืน หลังจากที่อาการดีขึ้นแล้วให้ทายาต่อไปโดยไม่ต้องปิดคลุมแผลอีก

การใช้ยารูปแบบสารละลายทาหนังศีรษะ (scalp application)

  • ยารูปแบบนี้เหมาะสำหรับบริเวณศีรษะหรือบริเวณผิวหนังที่มีขนมาก เพราะอยู่ในรูปสารละลาย ซึ่งซึมผ่านลงสู่หนังศีรษะได้ดี
  • ทายาบริเวณที่มีการแดงอักเสบของหนังศีรษะ ใช้นิ้วเกลี่ยและคลึงเบา ๆ จะรู้สึกเย็นหนังศีรษะ จนกระทั่งยาแห้ง
  • ระวังอย่าให้เข้าตา หรือใช้มือที่สัมผัสยาสัมผัสโดนดวงตา
  • ควรหยุดใช้ยาเมื่อคุมอาการได้แล้ว ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ โดยที่ไม่ได้รับการตรวจดูอาการอีก
  • อาจทายาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ซ้ำอีกเพื่อควบคุมการกำเริบของโรค หากจำเป็นต้องรักษาด้วยยาสเตอรอยด์อย่างต่อเนื่องควรเปลี่ยนไปใช้ยาที่มีความแรงน้อยกว่าโคลเบทาซอลโพรพิโอเนต(clobetasol propionate)

การใช้ยารูปแบบแชมพู

  • ใช้โคลเบทาซอลโพรพิโอเนต(clobetasol propionate) ชนิดแชมพูตามที่แพทย์สั่ง และใช้กับหนังศีรษะเท่านั้น
  • ใช้แชมพูชโลมลงบน หนังศีรษะที่แห้ง ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นใช้จึงเทน้ำลงบนศีรษะ ขยี้เบาให้เกิดฟองแล้วล้างออกให้สะอาด
  • ล้างมือให้สะอาดหลังใช้ยา
  • ควรระมัดระวังไม่ให้ยานี้เข้าไปในตา จมูก ปากหรือเยื่อเมือกอื่น ๆ

ขนาดยา

ขนาดยาของยาโคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clobetasol propionate)
แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรหรือตามที่ฉลากระบุ
จำนวนครั้งของการใช้ยาในแต่ละวัน, ระยะห่างของการทายาในแต่ละครั้ง, ระยะเวลาที่ใช้ยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

เมื่อลืมใช้ยา

หากท่านลืมทายาให้รีบทาทันทีที่นึกได้ อย่างไรก็ตามหากใกล้ถึงการทายาครั้งต่อไป ให้ทายาครั้งต่อไปได้เลย

การเก็บรักษา

  • เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บให้ห่างจากความร้อนและหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
  • ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง
  • ห้ามใช้ยาหลังวันสิ้นอายุของยาที่แสดงไว้บนฉลาก หากไม่ระบุเป็นอย่างอื่น วันสิ้นอายุของยา หมายถึง วันสุดท้ายของเดือนที่แสดงบนฉลาก

ข้อควรระวัง

หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 14 วันหรืออาการยิ่งแย่ลงกว่าเดิม ควรกลับไปพบแพทย์

  • ไม่ควรใช้ยานี้ในปริมาณมากเกินไป หรือใช้ในระยะเวลานานกว่าที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีผิวหนังบาง เช่น หน้า รักแร้ หรือ ขาหนีบ เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังยิ่งบางลง และเพิ่มการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก เนื่องจากอาจมีผลกดการทำงานของต่อมหมวกไต แม้ว่าจะไม่ได้ปิดคลุมแผลก็ตาม
  • หากต้องทายาบริเวณเปลือกตา ต้องระมัดระวังไม่ให้ยาเข้าตา เพราะอาจทำให้เกิดต้อหินได้
  • หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ยาโคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clobetasol propionate) อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในทารกและเด็ก เนื่องจากอาจมีผลกดการทำงานของต่อมหมวกไต แม้ว่าจะไม่ได้ปิดแผลอย่างแน่นหนาก็ตาม หากต้องใช้ยาในเด็ก ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และควรระลึกไว้เสมอว่าผ้าอ้อมที่ใช้ในทารกอาจทำหน้าที่เสมือนผ้าปิดแผลที่แน่นหนาได้
  • การใช้ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroids) ในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดเซลล์ผิวหนังฝ่อเฉพาะที่ เช่น ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกลาย และมีการขยายตัวของหลอดเลือดใกล้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีการปิดคลุมแผลหรือบริเวณซอกพับของผิวหนัง
  • การใช้ยาสเตอรอยด์ชนิดทาในการรักษาโรคสะเก็ดเงินอาจทำให้เกิดอันตรายได้ด้วยเหตุผลหลายอย่าง ได้แก่ โรคกลับมาเป็นซ้ำและมีอาการรุนแรงกว่าเดิม เกิดการดื้อยา เสี่ยงต่อการเกิดโรคสะเก็ดเงินชนิดมีตุ่มหนองทั่วร่างกาย และเกิดอาการพิษเฉพาะที่หรือทั้งร่างกาย เนื่องจากผิวหนังเสียหน้าที่ในการปกป้องไป หากต้องใช้ยาสเตอรอยด์ชนิดทาในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • การดูดซึมยาโคลเบทาซอลโพรพิโอเนตชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clobetasol propionate) เข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดภาวะกดการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-ต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenal axis suppression) ซึ่งอาจแสดงออกโดยกลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome) ซึ่งทำให้มีความผิดปกติหลายอย่าง เช่น บวมน้ำ น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว หน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ มีโหนกตรงต้นคอ นอกจากนี้ยังทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และมีน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ (glucosuria) เป็นต้น
  • ปฏิกิริยาภูมิไวเกินที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ ได้แก่ ผิวหนังแดง เป็นผื่น คัน ลมพิษ ผิวหนังไหม้ และผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ จากการสัมผัส อาจเกิดขึ้นในบริเวณที่ทายา

อาการไม่พึงประสงค์

ยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่ไม่ต้องการ ถึงแม้ว่าอาการไม่พึงประสงค์ต่อไปนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นทั้งหมด แต่หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ก. พบแพทย์โดยเร็วหากมีอาการต่อไปนี้
พบไม่บ่อย

  • ตุ่มพุพองมีเลือดภายใน
  • แสบร้อน และคันผิวหนัง
  • แผลหายช้า
  • รูขุมขนอักเสบ
  • ผิวหนังติดเชื้อง่าย
  • ผิวหนังบาง มีจ้ำเลือด

ข. อาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นหากใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือใช้ยาเป็นระยะเวลานาน
พบน้อย

  • มีสิว หรือหน้ามัน
  • ตาพร่า หรือปวดตา หากใช้ทาใกล้ดวงตา
  • ความดันโลหิตสูง
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
  • หน้ากลม
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักขึ้น หรือลดอย่างรวดเร็ว
  • ผิวหนังแตกลาย
  • ขนดก

ค.อาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้จะหายไปในระหว่างการรักษาหรือหยุดยาไปแล้วเนื่องจากร่างกายจะปรับตัว เข้ากับยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถ้าอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้นติดต่อกันนาน หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของท่าน
พบไม่บ่อย

  • ผิวแห้ง
  • ผิวหนังแดง คัน

ง. อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย หากท่านสังเกตเห็นอาการข้างเคียงอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ห้ามใช้ในโรคผิวหนังชนิด หัดกุหลาบ (rocacea), สิว, ผิวหนังอักเสบบริเวณรอบปาก, อาการคันบริเวณรอบทวารหนักและอวัยวะเพศ
  • ห้ามใช้ในโรคผิวหนังซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส เช่นโรคเริม อีสุกอีใส เป็นต้น
  • ห้ามใช้รักษาโรคผิวหนังที่มีการติดเชื้อแบบปฐมภูมิจากเชื้อราหรือแบคทีเรีย

นอกจากใช้โฟมข้างต้นแล้ว หมอสั่งให้เปลี่ยนแชมพู เป็น T/Sal® Therapeutic Shampoo - Scalp Build-Up Control (3% Salicylic Acid) วิธีใช้ก็เหมือนที่กล่าวไว้ข้างบน คือ ทิ้งไว้ 5 นาทีก่อนล้างออก

T-Sal Shampoo

หมอสั่ง Protopic Ointment 0.1% ให้ไปทาตามเนื้อตัวตรงบริเวณที่เป็นขี้เรื้อน ยาหลอดนี้ราคาเป็นครึ่งนึงของโอลักซ์โฟม แต่หลอดนึงใช้ไปได้นานครึ่งค่อนปีเลยค่ะ ก็ทากันไป ไม่เห็นผลอะไรมากมาย นอกจากผิวบริเวณที่ทาชุ่มชื้นมันเมือกดีค่ะ เลยกลับไปทาโอลักซ์เหมือนเดิม แสบดี… ชอบ 555 ซาดิสม์นิดๆ อิอิ แต่พยายามไม่ทาทุกวัน ก็ทาโน่นนี่สลับกันไปค่ะ เพราะแต่ละตัวเป็น สเตียรอยด์ ทั้งนั้นเลยค่ะ เลยต้องใช้ที่มีดีกรีความแรงแตกต่างกันไป

Protopic Ointment is a prescription ointment used to treat moderate to severe eczema. Protopic is for use after other prescription medicines have not worked or when a doctor recommends that other prescription medicines should not be used. Protopic should be used for short periods, and, if needed, treatment may be repeated with breaks in between.

PROTOPIC IS AVAILABLE IN TWO STRENGTHS.

Adults may use either Protopic Ointment 0.1% or 0.03%
Children 2 to 15 years of age should only use Protopic Ointment 0.03%
Protopic should not be used on children younger than 2 years of age
Protopic should not be used by those with weakened immune systems

IMG_3563-page

จากนั้นไม่นาน ก็มีอาการ “คันมือ” มาก แต่คันเฉพาะมือขวาบริเวณที่ใส่ไว้ในกรอบเล็กค่ะ เวลาคัน จะคันจนอยากร้องไห้ เกาจนเลือดออก พ่อบ้านบอกว่าเวลาอิชั้นนอนหลับ…ก็ยังเกามือแก่กๆ พอมือบริเวณที่เป็นเยินมากๆ เกาจนผิวหนังแตก เลือดซึมก็ไม่หายคัน ทาสารพัดยา ถุงมือ เลยไปหาหมอผิวหนังอีก หมอบอกว่าอิชั้นเป็น “Hand eczema” อะไรอีกวะ หมอสั่งให้เลิกสัมผัส น้ำยาล้างจาน สบู่ ที่เข้มข้น หรือกลิ่นหอมรุนแรงต่างๆ โดยเฉพาะน้ำยาล้างจาน น้ำยาชำระล้างขัดถูต่างๆ ต้องใส่ถุงมือยางตลอดเวลา ทั้งเวลาทำอาหาร และทำสะอาดครัวเรือน (แม่ผีเรือนก็ไม่ค่อยจะทำอยู่แล้ว ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ 555) ถุงมือก็ต้องเป็นยี่ห้อและรุ่นเฉพาะเจาะจง Kimberly-Clark® Safeskin Purple Nitrile Exam Gloves เท่านั้น สบู่ โลชั่น เปลี่ยนใหม่หมด ให้ใช้ Dove® Beauty Bars - Sensitive Skin Unscented เลิกใช้สบูก้อนมาหลายปี ไอ้สบู่โดฟที่ต้องใช้ก็เละสิ้นดี เบื่อหน่ายมาก เลยไปซื้อสบูเหลวของเบบี้มาใช้แทนค่ะ ก็โอเคดี แต่มือก็ไม่หายซักที

page-826

Hand eczema (also known as hand dermatitis) is very common, occurring in about 10% of women and 4% of men. It usually starts with mild dryness and redness. Scaling can increase, leading to fissuring and crusting. Affected skin areas can be very itchy. Initially, the fingers and web spaces are involved.

Here is some practical advice if you have hand dermatitis:

  • Use a long handled brush for washing the dishes.
  • Consider using a dishwasher instead of hand washing.
  • Avoid heating or cooling the skin. Sweating within rubber gloves can worsen the dermatitis, so cotton gloves should be worn inside loose-fitting rubber or vinyl gloves.
  • Wear cotton gloves to do general housework, as they can be washed instead of washing your hands too often.
  • Avoid the temptation of using very hot water, even if wearing gloves.
  • While preparing food, try to minimize contact with fruit juices, fruits, vegetables, raw meats, onions and garlic.
  • Avoid the use of household cleansers, deodorants, and antibacterial soaps and cleansers.
  • If possible, wear vinyl gloves to shampoo hair. If this is not possible, use the hand which is less likely to be affected by the dermatitis.
  • Keep hand washing to a minimum and maintain water at a lukewarm temperature. Always pat dry your skin.
  • Avoid harsh or scented soaps, instead use mild liquid cleansers, such as Spectro Jel, Spectro Derm, Cetaphil, Seaquanil, Lipikar Syndet.
  • Remove rings before wet work or hand washing, as they can trap moisture and irritants underneath.
  • Apply moisturizers after washing, ointments that are clear and sticky seem to work the best, but they may not be practical due to their "greasy feel". Alternatively, try using a skin protectant with petrolatum or silicone, such as Spectro EczemaCare, Vaseline or Prevex.
  • Scratching can worsen your dermatitis and cause cracks to form, allowing bacteria to enter and resulting in infection.
  • To help manage itching, apply a cold compress to the affected area, keep fingernails short, and use over-the-counter (OTC) products containing hydrocortisone or clobetasone butyrate.
  • Efforts aimed at reducing stress may also be helpful for managing eczema.

IMG_3534-page

รูปบนนี้เป็นมือของอิชั้นตอนที่ “เกือบ” หายดีแล้ว หมอคนเก่าสั่ง Vanos Cream ให้ทาบริเวณที่คัน (ยาบ้านี่ก็แพงมาก ถ้าจะไม่ผิดหลอดนี้อิชั้นจ่ายไปร่วมๆ ร้อยเหรียญค่ะ ไม่อยากนึกว่าราคาเต็มคือเท่าไหร่) หมอก็บอกว่าทาสลับกับ Protopic Ointment ที่มีอยู่ ทาอยู่นั่น เป็น 2-3 ปี ก็ไม่หาย ดูทุเลาลงบ้างแต่ก็ไม่มาก ล่าสุด เปลี่ยนหมอผิวหนังคนใหม่ โอ…มาย…บุ๊ดด้า.. ทำไมเราเพิ่งจะเจอกัน …♫..♪..แต่เราก็หากันจนเจอ….♪.♫.. ขอเอ่ยนามหน่อยนะคะ เพราะชื่นชมอีตาหมอคนนี้จริงๆ  Dr. Boswell อารมณ์ดี เจอกันทุกๆ 3 เดือน เหมือนรู้จักกันมาหมื่นปี แกบอกว่า เลิกทาโน่นนี่ที่มีอยู่ แต่ต้องเลิกเกา ถ้าคันให้เอามือถูๆ พอให้หายคัน อย่าใช้เล็บ พกครีมทามือ (ยี่ห้ออะไรก็ได้ ไม่ต้องเห็นแบรนด์ดัง ยอดนิยม ราคาแพงลิบ พยายามหลีกเลี่ยงครีมที่มีส่วนผสมของน้ำหอมค่ะ) ไว้ติดตัวตลอดเวลา แม้แต่เวลาอยู่ในบ้าน ทาครีมทุกครั้งหลังจากมือเปียกและเช็ดแห้งดีแล้ว คันมือ-ก็ควักออกมาทา ถึงไม่คัน ถ้านึกออกก็ให้ควักออกมาทา Oh…It Works Like Magic! มือที่เน่าอยู่หายดีภายใน 2 สัปดาห์ ดูจากรูปข้างบนค่ะ อิชั้นซื้อครีมทามือยี่ห้อที่เห็นในรูปน่ะค่ะ วางไว้ทั่วบ้าน 4-5 จุด และ อีก 1 หลอดใส่ไว้ในกระเป๋าสะพาย-เวลาไปไหนๆ ตอนแรกๆ อยากด่าหมอ คันแล้วไม่ให้เกา จะบ้าเหรอ หลายๆ วันเข้าก็ชิน เกาน้อยลง พอคันก็เอาถูๆ กางเกง 555 แต่ต้องบอกว่าไอ้โรคมือเน่านี่ไม่หายขาดนะคะ บางทีมันก็กลับมา แต่พอเรารู้ทัน ก็ไม่เกาจนมือเละ รีบหาครีมมาทา ก็ช่วยได้เยอะเลยค่ะ

VANOS® (fluocinonide) Cream 0.1% is a corticosteroid (steroid hormone) approved to relieve the inflammation and itching caused by certain skin conditions that respond to treatment with corticosteroids in patients 12 years of age or older

As a eczema sufferer, you know how easily skin can itch. When scratching the itchy skin, the red, bumpy rash of eczema appears or becomes worse. That means scratching the itchy skin leads to more itching, which leads to more scratching. Are you itching because you’re scratching or scratching because you’re itching? When you have eczema, they go hand in hand. It calls it the itch-scratch cycle.

Taclonex Vanos

พอเป็นโรคสะเก็ดเงิน คือ autoimmune disorder หมายถึงความบกพร่องของร่างกายของเราเอง ไม่อยาก “พล่าม” ไปลึกๆ เพราะอิชั้นไม่ใช่แพทย์ ข้อมูล และคำอธิบายต่างๆ ในบล็อกนี้ คือ อิชั้น ค้นคว้ามา หรือ นำประสบการณ์ส่วนตัวมาเล่าสู่กันฟังนะคะ กลับเข้าเรื่องค่ะ ..พอเราเป็นโรคเวรกรรมนี่แล้ว มันจะมีโรคโน่น นี่ นู้น นั้น ตามมากันเยอะแยะ ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับผิวหนัง (เหมือนบาง symptom ที่กล่าวถึงบ้างแล้วข้างบน และกล่าวถึงต่อๆ ไป บล็อกนี้ได้รางวัล “เรียบเรียงยอดแย่” เพราะนึกอะไรออก ก็เล่าไปเรื่อยๆ 5555) บางทีก็เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ซึ่งทั้ง Psoriatic และ Arthritis ต่างก็เป็นโรคที่เรียกได้ว่า… A Lifelong Disease ค่ะ

ขอพูดถึงยาต่างๆ ที่เคยใช้ และใช้อยู่ค่ะ จากรูปข้างบน เป็นยาที่อิชั้นได้ใช้มาทั้งหมด และยังมีเหลืออยู่เยอะเชียว แต่ขี้เกียจไปรื้อออกมาถ่ายรูป เลยก๊อปมาจากกูเกิ้ล ยาแต่ละตัวราคาค่อนข้างสูง ต้องแพทย์สั่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ไม่เห็นผลชัดเจน ไม่มีอะไรหายขาด อาจทุเลาลงบ้าง แต่ก็กลับเป็นใหม่อีก โรคสะเก็ดเงินต้องอยู่กับคนที่เป็นจนวันตาย หมอแต่ละคน ก็จ่ายยาแตกต่างกันไป แต่วิธการรักษาและคำแนะนำจะไม่แตกต่างกันมากนัก คนที่เป็นโรคนี้ต้องทำใจค่ะ เวลาป่วยไข้อย่างอื่น-ไอ้โรคบ้านี่ก็กำเริบขึ้นมา เวลาที่มีเรื่องเครียดๆ มันก็บุกหนัก คนเราจะให้ปลง รื่นเริง แจ่มใสตลอดเวลา …เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว อาจเรียกว่า “บ้า” 555 คืออยากจะบอกว่า เมื่อเป็นโรคเวรโรคกรรมนี่แล้ว ก็ต้อง deal กับมันค่ะ อย่าปล่อยให้ลุกลามใหญ่โต มันจะรักษายาก

ยาที่หมอจ่ายมาให้มากมาย หมอเงินไปมหาศาล จนทำให้อิชั้นคิดว่าหมอไม่จริงใจกับคนไข้ หมอทำธุรกิจกับบริษัทยามากกว่ารักษาคนไข้ เอารายละเอียดของยาแต่ละตัวแปะมาให้อ่านกัน จะเห็นได้ว่า คุณภาพ ประสิทธิภาพ คล้ายๆ กัน หรือ เหมือนกันเลยก็มี ลองอ่านดูค่ะ

Taclonex® (calcipotriene 0.005% and betamethasone dipropionate 0.064%) Ointment is used for: Treating a certain type of psoriasis (psoriasis vulgaris). It may also be used for other conditions as determined by your doctor. Taclonex Ointment is a combination topical corticosteroid and an agent that is similar to vitamin D. Exactly how it works to treat psoriasis is unknown.

Locoid Lipocream® (hydrocortisone butyrate 0.1%) Cream is indicated for the relief of the inflammatory and pruritic manifestations of corticosteroid-responsive dermatoses.

Hydrocortisone is a topical steroid. It reduces the actions of chemicals in the body that cause inflammation, redness, and swelling.

Hydrocortisone topical is used to treat inflammation of the skin caused by a number of conditions such as allergic reactions, eczema, or psoriasis.

Hydrocortisone topical may also be used for other purposes not listed in this medication guide.

Dovonex® (calcipotriene cream) Cream, 0.005% contains calcipotriene monohydrate, a synthetic vitamin D3 derivative, for topical dermatological use.

Dovonex (calcipotriene) is a form of synthetic vitamin D3 that is formulated to slow skin cell growth, flatten lesions and remove scale. It also can be used to treat psoriasis on the scalp and nails. Dovonex (calcipotriene) is a topical medication used to treat psoriasis. It is available by prescription only. It may help to reduce the skin pain, itching and cracking associated with psoriasis. Dovonex is often prescribed to people who have been diagnosed with mild to moderate cases of plaque psoriasis.

Dovonex may be prescribed in combination with other psoriasis medications, such as Topical Corticosteroids. Dovonex cream is what is known as a synthetic Vitamin D analog. It regulates the production of skin cells and helps to prevent the build up of scales on the surface of the skin that create the patches of psoriasis break outs.

Dovonex (calcipotriene solution) Scalp Solution 0.005% is a topical solution that is made of calcipotriene/calcipotriol monohydrate, which is a synthetic derivative of Vitamin D. It is commonly prescribed for topical dermatological use, including for patients with scalp psoriasis. Patients using Dovonex scalp solution should not use it on open wounds or non-affected areas, and should avoid contact with mucous membranes or the eyes. There is also an ointment and a cream available for patients prescribed calcipotriene/calcipotriol topical, but these are not approved for scalp treatment in most cases, which is why Dovonex scalp solution is prescribed. There may be other uses than those listed here for this medication. There should be no more than 10 grams of calcipotriene/calcipotriol topical used weekly for safety reasons.

IMG_0774

รูปข้างบนเป็นแชมพูที่หมอผิวหนังคนเก่าสั่งให้ใช้ อิชั้นใช้อยู่ 2-3 ขวด ก็เลิกใช้ เพราะหมอบอสเวลล์บอกให้เลิกค่ะ แค่ใช้ T/Sal ก็พอแล้ว

Aliclen 6 % Shampoo (Salicylic Acid 6%) is used on the skin/scalp to treat psoriasis and other dry, scaly skin conditions. It belongs to the same class of drugs as aspirin (salicylates). This medication should not be used in children younger than 2 years.Salicylic acid causes the skin to shed dead cells from its top layer by increasing the amount of moisture in the skin and dissolving the substance that makes the cells clump together. This effect makes it easier to shed the skin cells, softens the top layer of skin, and decreases scaling and dryness.

Clobex-page

ส่วนรูปข้างบนเป็นโลชั่นและแชมพูที่ใช้มานานและยังใช้อยู โดยใช้สลับกับยาตัวอื่นๆ ค่ะ ยา 2 ตัวนี้แพงโคตรๆ โประสังเกต**ยาที่มี clobetasol propionate เป็น active ingredient ราคาจะมหาโหด ตั้งแต่ไอ้พวกโฟม ออยต์เม้น โลชั่น แชมพู ฯลฯ 2 ขวดนี้ราคาขวดละประมาณ 80 เหรียญกว่าๆ (ราคานี้เป็นราคาที่อิชั้นต้องจ่าย แต่ราคาเต็มก่อนที่ประกันฯ ต้องจ่าย 80% คือประมาณ $380.- ค่ะ ..ถ้าไม่มีประกันก็คงไม่มีปัญญาใช้ยานี้แน่นอน) ขนาดแค่ 4 ออนซ์นะคะ ก็เลยต้องใช้อย่างประหยัด แชมพูอันนี้ “เจ๋ง” มากๆ ทาชโลมทั่วศีรษะตอนที่ผมแห้งๆ ขยำ ขยี้แล้วจะเป็นฟองทั่วหัวเลยค่ะ ไม่ไหลเลอะเทอะ ทิ้งไว้ 15-30 นาที ไปทำโน่นทำนี่ แล้วค่อยไปอาบน้ำสระผม อิชั้นหมักแชมพูนี้เดือนละ 2 ครั้งค่ะ แล้วใช้ครั้งละนิดเดียวก็เป็นฟองทั่วทั้งหัว สระแล้วผมนุ่มมากกกก….. ไม่แข็งกระด้างเหมือนแชมพูยาทั่วๆ ไป ด๊อกเต้อร์บอสเวลล์ ออกปากขอโทษทุกครั้งที่ให้ใช้ 2 ตัวนี้ต่อไป แกรู้ว่ามันแพง ถ้ามีตัวอย่างก็จะขนให้มาทีละเยอะๆ ถ้ามีคูปองลดราคา แกก็จะจัดการโทรไปที่ฟาร์มาซีที่อิชั้นใช้บริการอยู่ให้ครบถ้วนเสร็จสรรพ น่ารักเน้อออ…..

Clobex® (clobetasol propionate), a powerful medication available in spray, shampoo, and lotion for the treatment of psoriasis. Spray, Shampoo and Lotion, 0.05%, are indicated to treat moderate to severe plaque psoriasis and are not recommended for use on anyone younger than 18 years of age. Use only as directed. The drug in Clobex® (clobetasol propionate) Spray, Shampoo and Lotion, 0.05%, can pass through your skin. Too much of the drug passing through your skin may cause harm to your adrenal glands. To reduce this risk, your total combined use of these products should not exceed 50g per week (50mL or 2 fl oz. Spray or 50mL or 1.75 fl oz. Shampoo or Lotion). Adrenal gland impairment can cause nausea, vomiting, fever, low blood pressure, heart attack and even death, so be sure to notify your doctor immediately if you experience any symptoms. Do not apply Clobex® Spray, Lotion or Shampoo to your face, underarms, or groin, and avoid contact with eyes and lips.

IMG_3565

Clobetasol Propionate Ointment USP, 0.05% is a super-high potency corticosteroid formulation indicated for the relief of the inflammatory and pruritic manifestations of corticosteroid responsive dermatoses. Treatment beyond 2 consecutive weeks is not recommended, and the total dosage should not exceed 50 g per week because of the potential for the drug to suppress the hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis. Use in children under 12 years of age is not recommended.

As with other highly active corticosteroids, therapy should be discontinued when control has been achieved. If no improvement is seen within 2 weeks, reassessment of the diagnosis may be necessary.

PRECAUTIONS: Clobetasol propionate ointment should not be used in the treatment of rosacea or perioral dermatitis, and should not be used on the face, groin, or axillae.

Topical Steroids Potency Chart

This potency chart shows brand-name topical steroid medications along with the generic version. Please note that the percentage of ingredient in the medication does not always correlate with the strength of the steroid. This list is not comprehensive. Thank you > > http://www.psoriasis.org/page.aspx?pid=469

Brand name Generic name
CLASS 1—Superpotent
Clobex Lotion/Spray/Shampoo, 0.05% Clobetasol propionate
Cormax Cream/Solution, 0.05% Clobetasol propionate
Diprolene Ointment, 0.05% Betamethasone dipropionate
Olux E Foam, 0.05% Clobetasol propionate
Olux Foam, 0.05% Clobetasol propionate
Temovate Cream/Ointment/Solution, 0.05% Clobetasol propionate
Ultravate Cream/Ointment, 0.05% Halobetasol propionate
Vanos Cream, 0.1% Fluocinonide
Psorcon Ointment, 0.05% Diflorasone diacetate
Psorcon E Ointment, 0.05% Diflorasone diacetate
CLASS 2—Potent
Diprolene Cream AF, 0.05% Betamethasone dipropionate
Elocon Ointment, 0.1% Mometasone furoate
Florone Ointment, 0.05% Diflorasone diacetate
Halog Ointment/Cream, 0.1% Halcinonide
Lidex Cream/Gel/Ointment, 0.05% Fluocinonide
Psorcon Cream, 0.05% Diflorasone diacetate
Topicort Cream/Ointment, 0.25% Desoximetasone
Topicort Gel, 0.05% Desoximetasone
CLASS 3—Upper Mid-Strength
Cutivate Ointment, 0.005% Fluticasone propionate
Lidex-E Cream, 0.05% Fluocinonide
Luxiq Foam, 0.12% Betamethasone valerate
Topicort LP Cream, 0.05% Desoximetasone
CLASS 4—Mid-Strength
Cordran Ointment, 0.05% Flurandrenolide
Elocon Cream, 0.1% Mometasone furoate
Kenalog Cream/Spray, 0.1% Triamcinolone acetonide
Synalar Ointment, 0.03% Fluocinolone acetonide
Westcort Ointment, 0.2% Hydrocortisone valerate
CLASS 5—Lower Mid-Strength
Capex Shampoo, 0.01% Fluocinolone acetonide
Cordran Cream/Lotion/Tape, 0.05% Flurandrenolide
Cutivate Cream/Lotion, 0.05% Fluticasone propionate
DermAtop Cream, 0.1% Prednicarbate
DesOwen Lotion, 0.05% Desonide
Locoid Cream/Lotion/Ointment/Solution, 0.1% Hydrocortisone
Pandel Cream, 0.1% Hydrocortisone
Synalar Cream, 0.03%/0.01% Fluocinolone acetonide
Westcort Cream, 0.2% Hydrocortisone valerate
CLASS 6—Mild
Aclovate Cream/Ointment, 0.05% Alclometasone dipropionate
Derma-Smoothe/FS Oil, 0.01% Fluocinolone acetonide
Desonate Gel, 0.05% Desonide
Synalar Cream/Solution, 0.01% Fluocinolone acetonide
Verdeso Foam, 0.05% Desonide
CLASS 7—Least Potent
Cetacort Lotion, 0.5%/1% Hydrocortisone
Cortaid Cream/Spray/Ointment Hydrocortisone
Hytone Cream/Lotion, 1%/2.5% Hydrocortisone
Micort-HC Cream, 2%/2.5% Hydrocortisone
Nutracort Lotion, 1%/2.5% Hydrocortisone
Synacort Cream, 1%/2.5% Hydrocortisone

อิชั้นก๊อปปี้ตารางข้างบนมาให้ดูกันว่า ยาที่อิชั้นใช้ จะอยู่ในกลุ่มที่แรงที่สุดแล้ว การใช้ยาแรงๆ ผลข้างเคียงก็มาก เฮ้อออ…..

IMG_3560

คราวนี้ก็มาถึงโรคหรืออาการที่หลายๆ คนอาจเคยเป็น แต่ไม่รู้สาเหตุ มันคือ..โรคต่อมรากผมอักเสบ (Folliculitis) เคยมั๊ยคะ คันหัว เกาๆๆ แล้วพบว่าหัวเป็นตุ่มเป็นตอ เจ็บๆ คันๆ บางทีมีหัวสิวแห้งๆ หลุดติดเล็บออกมา บางทีก็เป็นหัวเละๆ แตกเป๊ะติดกรงเล็บออกมาเหมือนกัน ทั้งหมดที่กล่าวมาคืออาการของโรคต่อมรากผมอักเสบ (Folliculitis) อิชั้นไปพบหมอโรคผิวหนังตามปกติ เล่าอาการข้างต้นให้หมอฟัง เค้าก็อธิบายว่ามันคือ บลาๆๆ แล้วก็เขียนใบสั่งไอ้ขวดในรูปข้างบนมา พอไปซื้อก็พบว่าราคาไม่แพง (เพราะมีประกันช่วยจ่ายตั้ง 80% นิ) ถ้าจำไม่ผิดอิชั้นจ่ายไปแค่ 7-8 เหรียญ พอได้มาก็เอามากดๆ ทาๆ ทั่วบริเวณที่เป็น ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากนั้นที่เจ็บๆ คันๆ ก็ค่อยๆ หายไป แต่จะรู็สึกว่าเมามันกับกันเกาหัวกบาลเป็นยิ่งนัก เพราะเกาทีไร มีหัวสิวแห้งติดเล็บออกมาทุกที 5555 เจ้าโรคนี้ อาการนี้ จะเป็นๆ หายๆ กลับมากวนใจประมาณ ปีละ 2-3 ครั้ง

ปล. อิชั้นเอายาขวดนี้มาสิวบนใบหน้าด้วยนะคะ (ซึ่งหมอสั่งห้ามทาเด็ดขาด 555) ผลที่ได้คือ สิวยุบรวดเร็วมากๆ แต่ไม่พยายามทาบ่อยๆ นานๆ ที่รู้สึกซีเรียสก็…เอาซะหน่อยนึง อิอิ

Clindamycin Phosphate Topical Solution USP 1% was indicated in the treatment of acne vulgaris. follicle infection

What is folliculitis?

Folliculitis is an infection in the hair follicles. Each hair on your body grows out of a tiny pouch called a follicle. You can have folliculitis on any part of your body that has hair. But it is most common on the face and scalp and areas rubbed by clothing, such as the thighs and groin.

What causes folliculitis?

  • It usually is caused by bacteria. It also can be caused by yeast or another type of fungus.
  • You may get folliculitis if you have damaged hair follicles. Shaving or wearing clothes that rub the skin can irritate the follicles, which can lead to folliculitis. They also can become blocked or irritated by sweat, machine oils, or makeup. When the follicles are injured, they are more likely to become infected.
  • You are more likely to get folliculitis if you:
  • Use a hot tub, whirlpool, or swimming pool that is not properly treated with chlorine.
  • Wear tight clothes.
  • Use antibiotics or steroid creams for long periods.
  • Use or work with substances that can irritate or block the follicles. Examples include makeup, cocoa butter, motor oil, tar, and creosote.
  • Have an infected cut, scrape, or surgical wound. The bacteria or fungi can spread to nearby hair follicles.
  • Have a disease such as diabetes or HIV that lowers your ability to fight infection.

คลินดามัยซิน (clindamycin) เป็นยาปฏิชีวนะ คลินดามัยซินชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clindamycin) ใช้สำหรับควบคุมสิว อาจใช้ตัวเดียวหรือใช้ร่วมกับยารักษาสิ่งอื่นที่เป็นชนิดใช้ภายนอกหรือยารับประทาน คลินดามัยซินชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clindamycin) อาจใช้ในปัญหาอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์

ก่อนการใช้ยา

ก่อนทายานี้ ควรล้างหน้าให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและสบู่ แล้วซับหน้าให้แห้ง

ใช้ปริมาณยาให้เพียงพอในการทาบริเวณที่เป็นสิว ท่านควรทายานี้ในบริเวณที่เป็นสิวทั้งหมด ไม่ใช่ทาเฉพาะที่ตุ่มหนอง การทาแบบนี้จะช่วยให้ตุ่มหนองที่ขึ้นใหม่ไม่แตกออก

ท่านควรหลีกเลี่ยงการล้างหน้าบ่อยๆ ในบริเวณที่เป็นสิว ซึ่งอาจทำให้หน้าแห้งและอาการสิวรุนแรงขึ้น การล้างหน้าด้วยสบู่อ่อนๆ วันละ 2 หรือ 3 ครั้งก็เพียงพอแล้ว การล้างหน้าบ่อยเกินไปอาจทำให้หน้ามันมากขึ้น หากท่านมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ยาคลินดามัยซินชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clindamycin) ไม่ได้ทำให้สิวของท่านหายไป แต่ช่วยควบคุมไม่ให้เกิดสิวมากขึ้น ควรใช้ยานี้จนครบเวลาการรักษา ถึงแม้ว่าอาการของท่านจะดีขึ้นหลังจากใช้ยาไม่กี่วันก็ตาม ท่านอาจต้องใช้ยานี้ทุกวันเป็นเวลาหลายเดือนหรือนานกว่านานนั้นในผู้ป่วยบางราย หากท่านหยุดใช้ยานี้เร็วเกินไป อาจจะกลับมาเป็นสิวใหม่ และไม่ควรลืมทายา

สำหรับผู้ป่วยที่ใช้คลินดามัยซินชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clindamycin) รูปแบบยาน้ำใส

  • ควรทายานี้หลังล้างหน้าหรือโกนหนวดประมาณ 30 นาที เนื่องจากแอลกอฮอล์ที่เป็นส่วนประกอบในตำรับอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหลังล้างหน้าหรือโกนหนวดเสร็จใหม่ๆ
  • ยานี้มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์และสามารถติดไฟได้ ดังนั้นห้ามใช้ยานี้ใกล้ความร้อน, ขณะจุดไฟหรือขณะสูบบุหรี่
  • เนื่องจากยานี้มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ อาจทำให้รู้สึกระคายเคืองหรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่ทา ยานี้มีรสชาติที่ไม่พึงประสงค์หากยาเข้าปากหรือโดนริมฝีปาก ดังนั้น ควรระมัดระวังไม่ให้ยานี้เข้าไปในตา จมูก ปากหรือเยื่อเมือกอื่นๆ และทายานี้ให้ห่างจากบริเวณดังกล่าว หากยานี้เข้าตาให้รีบล้างออกโดยเร็ว ด้วยน้ำเย็นธรรมดาปริมาณมากด้วยความระมัดระวัง หากตาของท่านยังคงมีอาการแสบร้อนหรือปวดควรไปพบแพทย์
  • ท่านไม่ควรใช้ยานี้บ่อยเกินกว่าที่ระบุในใบสั่งยาของแพทย์หรือที่ระบุบนฉลากยา เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังของท่านแห้งเกินไปและเกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง

ขนาดยา

ขนาดยาของคลินดามัยซินชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clindamycin) แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ เภสัชกร หรือ ตามที่ระบุไว้บนฉลากยา

จำนวนครั้งของการใช้ยาในแต่ละวัน, ระยะห่างของการทานยาในแต่ละครั้ง, ระยะเวลาที่ใช้ยาขึ้นอยู่กับปัญหาทางการแพทย์ที่คุณต้องใช้คลินดามัยซิน (clindamycin)

เมื่อลืมใช้ยา

หากท่านลืมทายาให้รีบทาทันทีที่นึกได้ อย่างไรก็ตามหากใกล้ถึงการทายาครั้งต่อไป ให้ทายาครั้งต่อไปได้เลย

การเก็บรักษา

  • เก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บให้ห่างจากความร้อนและหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
  • ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง
  • ทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ

ข้อควรระวัง

หากอาการของท่านไม่ดีขึ้นภายใน 6 สัปดาห์หรืออาการยิ่งแย่ลง ควรกลับไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม การรักษาสิวอาจใช้เวลาตั้งแต่ 8 ถึง 12 สัปดาห์จึงจะเห็นผลชัดเจน

หากแพทย์ของท่านสั่งใช้ยาอื่นที่ต้องใช้ทาบนผิวหนังเป็นระยะเวลานานร่วมกับยานี้ วิธีการทาที่ดีที่สุดคือทาในเวลาที่แตกต่างกัน จะช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ยิ่งไปกว่านั้น หากใช้ยาพร้อมกันหรือระยะเวลาใกล้เคียงกัน ยาอาจออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่

สำหรับผู้ป่วยที่ใช้คลินดามัยซินชนิดใช้กับผิวหนัง (topical clindamycin) รูปแบบยาน้ำใส

  • ยานี้อาจทำให้ผิวหนังแห้งเมื่อใช้เป็นประจำ หากอาการนี้เกิดขึ้นควรกลับไปพบแพทย์

ท่านอาจใช้เครื่องสำอางต่อไปได้ในขณะที่กำลังใช้ยารักษาสิว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ใช้ยาได้ผลดีท่านควรใช้เครื่องสำอางที่เป็นละลายน้ำได้ (water-base), ไม่ทาเครื่องสำอางหนาและบ่อยเกินไป เนื่องจากจะทำให้อาการสิวของท่านยิ่งแย่ลง หากท่านมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

Keratosis pilaris

พอต่อๆ มา ก็เจอจุดแดงๆ เล็กๆ เป็นจุดจิ๋วมากๆ กระจายอยู่ทั่วๆ ต้นขา และต้นแขน ลูบๆ คลำๆ เหมือนขนคุด (ดูจากรูปข้างบนนะคะ ก๊อปเค้ามาค่ะ อิชั้นไม่ได้เป็นเยอะขนาดในรูปค่ะ) หมอบอกว่าเป็น ?#@*$…โรคอะไรไม่รู้ฟังไม่ทัน ต้องถามซ้ำ คำตอบคือ โรคขนคุด (Keratosis pilaris) นั่นเอง (กรูนึกอยู่แล้ว…) แล้วก็บอกว่าไม่ต้องทำอะไรหรอก หมั่นทาโลชั่นเดี๋ยวก็หายไปเอง หรือ วิธีที่ดีที่สุดคือการขัดผิวเพื่อให้เซลล์ผิวเก่าๆ หลุดออก แล้วทาครีมบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมื่อผิวไม่แห้งแข็ง และผิวไม่หนา ขนก็จะงอกออกมาให้ง่าย จึงลดการเกิดขนคุดลงไปได้มาก ไม่นานจากนั้นแขนอวบใหญ่เกือบเท่าขาของอิชั้นก็นวลเนียนเรียบเหมือนเดิม …จุ๊ๆๆๆ อย่าเอ็ดไป อาการทั้งหลายที่เล่าๆ มา มันไม่มีอะไรหายขาดค่ะ มันทุเลาเบาบางลง แล้วมันก็โห่กันกลับมาเป็นใหม่ได้อีกค่ะ เวลามีอาการอะไร ตุ่มนิดตุ่มน้อย คันนิดคันหย่อย รีบโหมประโคมยาสะกัดดาวรุ่งไว้ให้ไวค่ะ

IMG_8258

คราวนี้มาดูรูปข้างบนกัน เป็นรูปตรงข้อพับแขนของอิชั้นเองค่ะ ที่วงเอาไว้คือ จุดที่เริ่มเป็นขี้เรื้อน จะเป็นว่าเป็นขุยแห้งขาวๆ ตรงกลาง ดูเหมือนตุ่มหนอง แต่ไม่ใช่ค่ะ เป็นขุยแห้งๆ เกาแล้วจะหลุดลอกเป็นแผ่นๆ ถ้าเจอเมื่อไหร่ก็จะรีบคว้ายาอันไหนก็ได้ที่ใกล้ๆ มือ มาทาไว้ก่อนเลย เพื่อไม่ให้มันลามใหญ่โตค่ะ

Fluocinonide Topical Solution USP, 0.05% (Generic To: LIDEX® (fluocinonide) topical solution 0.05%)

Fluocinonide Solution is used for: Treating inflammation and itching due to certain skin conditions. It may also be used for other conditions as determined by your doctor. Fluocinonide Solution is a topical adrenocortical steroid. It works by reducing skin inflammation (redness, swelling, itching, and irritation) by a way that is not clearly understood.

IMG_3566

Fluocinonide ointment 0.05% (Generic To: LIDEX® (fluocinonide) Ointment 0.05%)

Fluocinonide (CORTICOSTEROIDS) is used to treat swelling, inflammation, and itching of skin conditions such as eczema, dermatitis, rashes, insect bites, poison ivy, allergies and other irritations. Corticosteroids for the skin are available in different strengths and forms (e.g., creams, ointments, lotions and gels). The type of medication used depends on the location of your condition and the type of skin problem being treated. Creams are the most frequently used form. Lotions and gels may be better suited to hairy areas. Ointments may be better suited for dry areas and when a stronger effect or skin protection is desired.

IMG_9500

VECTICAL (calcitriol) Ointment 3 mcg/g is a vitamin D analog indicated for the topical treatment of mild to moderate plaque psoriasis in adults 18 years and older.

Important Safety Information

Vectical® Ointment is indicated for the topical treatment of mild to moderate plaque psoriasis in patients 18 years and older. The most frequent adverse events (≥3%) reported in clinical trials were lab test abnormality, urine abnormality, psoriasis, hypercalciuria, pruritus and skin discomfort. Vectical® should be used with caution in patients with known or suspected disturbances in calcium homeostasis, who are taking calcium or Vitamin D supplements or who are on diuretics. If aberrations in parameters of calcium metabolism occur, discontinue use until these normalize. Caution patients to avoid excessive exposure to natural or artificial sunlight after applying the ointment. Avoid contact with eyes, lips and face. Limit use to 200 grams per week.

IMG_3569

 

15 มีนาคม 2555 (อัพเดท) หลังจากรักษาโดยการใช้ยาภายนอก ทา ถู แปะ หมัก ขะโลม มาหลายปี ก็เป็นๆ หายๆ มีช่วงหายเกลี้ยง มีช่วงที่เป็นนิดๆ หน่อยๆ แต่ล่าสุด ชักลุกลามไปทั่วขาและหลัง เป็นจุดๆ คัน และลอกเป็นแผ่นๆ บ้าง หมอบอกให้เลือกระหว่ารักษาด้วย light therapy ซึ่งต้องขับรถข้ามเมือง “ไป-กลับ” สัปดาห์ละ 3 รอบ หรือมากกว่านั้น อิชั้นคิดว่า…ไม่ไหว แน่นอน เพราะน้ำมันแกลลอนละ 4 เหรียญปลายๆ ถ้าไม่เป็นขี้เรื้อนตายก็ต้องจนตาย อีกทางเลือกก่อนที่จะไปขั้น extreme คือ inject ตัวเอง และเหตุผลเกี่ยวกับประกันสุขภาพด้วย ทางเลือกที่ว่าคือ กินยาค่ะ ยาที่หมอจ่ายคือ Methotrexate 2.5 มก.

page-824

ก่อนที่จะเริ่มกินยา Methotrexate คุณหมอของอิชั้นส่งอิชั้นไปตรวจเลือด เพื่อเช็คสุขภาพ โดยเน้นที่การทำงานและสุขภาพของตับ พอได้ผลเลือดตามที่หมอพอใจ และมั่นใจว่าอิชั้นสามารถเสพยาตัวนี้ได้ หมอได้จ่ายยาให้อิชั้น 2 เม็ด โดยให้รับทานรวดเดียวเลย รอไปอีก 1 สัปดาห์ แล้วให้ไปเจาะเลือดดูผลตับอีกครั้ง ซึ่งผลเลือดออกมา (น่าจะ) โอเค เพราะหมอโทรมาบอกว่าให้ไปรับยามาเสพแบบ “ฟูลโดส”

Full Dose ของยาตัวนี้ตามที่หมอสั่งให้อิชั้นคือ กินสัปดาห์ละครั้งๆ ละ 5 เม็ด ถ้าเลือกกินวันไหน เวลาใด ก็พยายามให้ตรงวันและเวลาเสมอ อิชั้นเลือกวันอาทิตย์ตอนค่ำ ตั้งโทศัพท์ไว้เตือนค่ะ (เทคโนโลยีช่วยได้เยอะจริงๆ 55) คราวนี้มาดูรายละเอียดของยา ภาคภาษาไทยและอังกฤษกันค่ะ

5 มิถุนายน 2555 (อัพเดท) หลังจากกินยา Methotrexate มาครบ 3 เดือน ก็ไปพบหมออีกค่ะ สรุปว่า ยาตัวนี้ไม่ช่วยให้อาการของอิชั้นดีขึ้นแบบผิดหูผิดตา คือ มันก็ดีขึ้น ประมาณ 20-30% คราวนี้หมอจะให้อิชั้นใช้ยาตัวใหม่ (HUMIRA®) เป็นยาที่ต้องฉีดให้ตัวเอง หมอก็เลยส่งให้ไปเจาะเลือดตรวจอย่างละเอียดก่อนใช้ยา เน้นย้ำว่าต้องปลอดจากโรควัณโรคแบบเด็ดขาด แล้วประชากรโรคจากภาคพื้นทวีปเอเชียอาคเนย์พอเกิดมาก็ต้องฉีดวัคซีน BCG ซึ่งเป็นคอคเทลวัคซินที่ป้องกันหลายโรครวมทั้งวัณโรคด้วย ถ้าหากทำการตรวจ skin test หาเชื้อ TB ก็จะ positive ไปตลอดชีวิต หมอก็เลยต้องส่งไปตรวจแบบ intensive โดยสูบเลือดไปตรวจ เอาให้แน่ๆ ว่าไม่เป็น ก็จะเริ่มใช้ยาได้เลย สรุปว่าโดนสูบไป 6 หลอด

ในขณะเดียวกัน ทางคลีนิคก็ติดต่อกับประกันสุขภาพของอิชั้นว่า จะยอมให้อิชั้นใช้ยาตัวนี้หรือไม่ อิชั้นจะต้องจ่ายเท่าไหร่ เพราะเป็นยาที่โคตรแพง ราคาประมาณ $2,200.- สำหรับ 1 เดือน ถ้าหากประกันอนุญาตให้อิชั้นใช้ และต้องจ่าย co-pay ในอัตราปกติ คือ 20% จาราคาเต็ม อืม…. 440.- เหรียญ ต่อเดือน อิชั้นคงจะขอผ่าน เพราะ แพงเกินที่ครอบครัวเราจะรับได้ แล้วจะมาอัพเดทค่ะ

ขอขอบคุณ > > http://healthy.in.th/drug/methotrexate%20%20/

15 ตุลาคม 2555 (อัพเดท) ไม่ได้มาอัพเดทเสียนาน ต้องชี้แจงย้อนหลังก่อนค่ะว่าผลเลือดที่ไปตรวจครั้งใหญ่ สิ่งที่หมอกังวลที่สุดคือผล “ทีบี” ถ้าเป็นบวก ก็ใช้ ฮิวมิร่าไม่ได้ สรุปออกมาเป็น “ลบ” ค่ะ แต่มีผลอย่างอื่นที่ออกมาทำให้หมอกังวลยิ่งกว่า คือ เอนไซม์ของตับ elevated ค่อนข้างมาก พอหมอได้รับผลเลือดก็รีบโทรมาบอกให้หยุดทานยา Methotrexate ทันที ก็เลยต้องหยุดยาที่ว่าตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน

คราวนี้ก็ถึงหน้าที่ของทางหมอที่จะชี้แจง ต่อรองกับทางประกันฯ ของอิชั้น ว่า สมควร จำเป็น มากมาย ที่ต้องใช้ ฮิวมิร่า ซึ่งก็ยืดเยื้อเรื้อรังมาหลายเดือน กว่าผลจะออกมาว่า ประกันยอมตกลง และจะจ่ายให้เดือนละ พันสามร้อยเหรียญเศษๆ ส่วนต่างให้อิชั้นจ่ายเอง โห…เดือนละ 700-800 เหรียญ ไม่เอาละ ยอมเป็นขี้เรื้อนดีกว่า แต่ก็ยังไม่ตัดใจเลยทีเดียว กูเกิ้ลไปมา จนพบว่าบริษัทยา Abbott เค้ามี ออฟเฟอร์ ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ของผู้ที่ใช้ยาของเค้า คือ HUMIRA Protection Plan อิชั้นก็รีบลงทะเบียน ได้การ์ด (บัตรลด) มา ในเวลาเดียวกัน อิชั้นก็ได้โทรศัพท์จากบริษ้ท (จัดส่งยา – คือ ยานี้ต้องแช่เย็น เลยต้องส่งแบบ แช่เย็นมา เคาะประตู ถึงมือผู้ใช้เลย) คือเค้าต้องการคอนเฟิร์มที่อยู่ รายละเอียดต่างๆ ก็คุยๆ บอกๆ ตอบๆ ไปตามที่เค้าซักมา อีก 2 วันต่อมา ก็มีคนเอายามาส่งถึงบ้าน แช่เย็นมาเรียบร้อบ อุปกรณ์ต่างๆ อีกเพียบ

พอเปิดหีบห่อออกดู ห่วย..จะเป็นลม เพราะในกล่องยา ระบุมาว่า ส่วนที่อิชั้นต้องรับผิดชอบคือ $836.54 ต่อเดือน ตายๆๆๆๆ จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายเค้า พอดีวันที่รับยาเป็นวันเสาร์ ก็เลยเอายาแช่ตู้เย็นไว้ ตั้งใจว่าวันจันทร์จะรีบโทรถามรายละเอียดการส่งคืน การยกเลิก ฯลฯ พอได้คุยกับเจ้าหน้าที่ เค้าอธิบายมาว่า จะนวนเงินที่ทำเอาอิชั้นตกอกตกใจนั้น ได้ถูกรับผิดชอบไปแล้วโดยบริษัทยา คือ Abbott ส่วนที่อิชั้นต้องจ่ายคือ เดือนละ 5 เหรียญ และจะมีเจ้าหน้าที่ส่งยาให้ทุกเดือน จนกว่าหมอจะบอกให้เลิกใช้ เฮ่อออออ…….

แล้วจะมาเล่าต่อถึงผลของหารใช้ยาฉีด HUMIRA นะคะ หรือควรจะไปเริ่มบล็อกใหม่ดี บล็อกนี้ดูเน่าๆ เละๆ มั่วๆ ยังไงพิกล 5555

 

Methotrexate (เมโทเทรกเซต)

คำอธิบายพอสังเขป

เมโทเทรกเซต (methotrexate) หรือย่อว่า เอ็มทีเอกซ์ (MTX) เป็นยาที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับกรดโฟลิก (folic acid analogue) ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลต รีดักเทส (dihydrofolate reductase) ทำให้ลดการสร้างสารที่มีความจำเป็นต่อการสร้างเบสเพียวรีน (purine base) ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการสร้างดีเอ็นเอ (DNA) นอกจากนั้นยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทมิดิเลต ซินเทส (thymidilate syntase) ซึ่งทำหน้าที่เติมหมู่เมทิล (methyl group) ให้กับเบสยูราซิล (uracil base) ให้กลายเป็นไทมีน (thymine) ที่จะถูกใช้ในกระบวนการสร้างสายดีเอ็นเอต่อไป ดังนั้นเมโทเทรกเซตจึงทำลายเซลล์โดยการขัดขวางการสร้างดีเอ็นเอนั่นเอง
เมโทเทรกเซตใช้รักษาโรคต่าง ๆ ดังนี้

โรคมะเร็งต่าง ๆ

  • เมโทเทรกเซตใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งถุงน้ำคร่ำขณะตั้งครรภ์ (gestational choriocarcinoma), ครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform mole), ใช้ร่วมกับยาอื่นสำหรับควบคุมอาการและป้องกันอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system prophylaxis) ในมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์แบบแบบพลัน (acute lymphocytic leukemia) นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการทางระบบประสาทส่วนกลางในมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์แบบเฉียบพลันได้อีกด้วย

ยานี้อาจใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งอื่น ๆ ได้อีก ดังนั้นหากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis)

  • เมโทเทรกเซตใช้สำหรับควบคุมอาการโรคสะเก็ดเงิน ที่รุนแรง หรือดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น

ข้ออักเสบรูมาทอยด์ (rheumatoid arthritis)

  • เมโทเทรกเซตใช้สำหรับข้ออักเสบรูมาทอยด์ในผู้ใหญ่ที่มีอาการรุนแรง หรือข้ออักเสบรูมาทอยด์ในเด็กที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นที่เลือกเป็นอันดับแรก หรือทนต่อการรักษาอื่นหรือที่เลือกเป็นอันดับแรกไม่ได้

ก่อนการใช้ยา

การแพ้ยา

โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใดๆหรือมี ประวัติการแพ้เมโทเทรกเซต (methotrexate) หรือ ส่วนประกอบใด ๆ ในยานี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่นๆ เช่น อาหาร, สารกันเสีย, สี เป็นต้น

อาหารและเครื่องดื่มที่ต้องระวัง
  • ยาเคมีบำบัดมีผลต่อไขกระดูกทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ควรรับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกเเล้วใหม่ ๆ ควรงดรับประทานผักสด หรือผลไม้ที่รับประทานทั้งเปลือก หากต้องการรับประทานควรล้างให้สะอาดและปอกเปลือกก่อนรับประทาน
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจเพิ่มอาการไม่พึงประสงค์ต่อตับ
ตั้งครรภ์

รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'X' สำหรับสตรีมีครรภ์

จากการศึกษาในสัตว์หรือมนุษย์พบว่ายาทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ หรือมีหลักฐานชัดเจนจากการใช้ในมนุษย์ว่าเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ดังนั้นห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์หรือในสตรีที่มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์

โปรดแจ้งแก่แพทย์หากกำลังวางแผนจะมีบุตร เนื่องจากเมโทเทรกเซต (methotrexate) ทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือเกิดทารกวิรูปได้เมื่อให้ยาในหญิงตั้งครรภ์

ห้ามใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) หรือข้ออักเสบรูมาทอยด์ (rheumatoid arthritis) แต่อาจใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคมะเร็งในกรณีที่แพทย์พิจารณาแล้วว่ามีผลดีต่อมารดามากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดต่อทารกในครรภ์

กำลังให้นมบุตร

โปรดแจ้งแก่แพทย์หากท่านกำลังให้นมบุตร หรือตั้งใจจะให้นมบุตรในระหว่างที่ได้รับยาเมโทเทรกเซต (methotrexate) เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง จึงไม่แนะนำให้ทารกได้รับน้ำนมมารดาระหว่างใช้ยานี้

เด็ก

มีการพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้เมโทเทรกเซต (methotrexate) ในเด็กเฉพาะในโรคมะเร็งและข้ออักเสบรูมาทอยด์ในเด็ก (juvenile rheumatoid arthritis) เท่านั้น

จากการศึกษาการใช้เมโทเทรกเซตในเด็กและวัยรุ่นอายุ 2-16 ปีในโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ในเด็ก(juvenile rheumatoid arthritis) พบว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่าการใช้ยาในผู้ใหญ่

เมโทเทรกเซตรูปแบบยาฉีดมีสารกันเสียเบนซิลแอลกอฮอล์ (benzyl alcohol) ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กแรกเกิด เนื่องจากมีรายงานว่าทำให้เกิดกลุ่มอาการแกสพิง (gasping syndrome) ซึ่งมีอาการอ้าปากหายใจ, หอบ, ความดันต่ำ, หัวใจเต้นช้าลง และ ภาวะหัวใจร่วมหลอดเลือดล้มเหลว

เด็กที่ได้รับยาทางหลอดเลือดดำในขนาดยาปานกลาง (1 กรัม/ตารางเมตรพื้นที่ผิวกาย) หรือมากกว่า อาจทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาทที่รุนแรง เช่น อาการชัก

ผู้สูงอายุ

การใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุมีการทำงานของตับและไตลดลง, มีการสร้างโฟเลตที่ลดลง, มักมีภาวะโรคร่วม หรือมักใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาจจะรบกวนการทำงานของไต

เนื่องจากการทำงานของตับและไตที่ลดลงอาจสัมพันธ์กับการเพิ่มอาการไม่พึงประสงค์จากยา ดังนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษาจะทำการติดตามค่าการทำงานของตับ, ไต และภาวะกดไขกระดูกของยาอย่างใกล้ชิด ในผู้ป่วยที่ใช้ยาในระยะยาวแพทย์อาจให้โฟเลตเสริมแก่ผู้ป่วย เพื่อลดการเกิดพิษจากยา

ภาวะการกดไขกระดูก (bone marrow suppression), ภาวะเกล็ดเลือดน้อย (thrombocytopenia), โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) จากยาเมโทเทรกเซต (methotrexate) อาจเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น 

ยาอื่นที่ใช้อยู่

ถึงแม้ว่ายาบางอย่างไม่ควรใช้ร่วมกัน ในบางกรณีที่จำเป็นอาจใช้ร่วมกันได้ถึงแม้ว่าอันตรกิริยาอาจเกิดขึ้นก็ตาม โดยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาหรืออาจมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่จำเป็น ท่านต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านกำลังใช้ยาต่อไปนี้ร่วมอยู่ด้วย

 

Thank you > > http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0000547/#

ภาษาอังกฤษ ก็คลิกลิ้งค์ข้างบนเข้าไปอ่านได้เลยค่ะ อิชั้นจะลอกแต่ “คำเตือน-ข้อควรระวัง” มาให้อ่านกันค่ะ น่ากลัวมากกกกก….. อ่านทีแรกแทบจะยอมเป็นโรคขี้เรื้อนจนตายเลยทีเดียวค่ะ 555

Warning

Methotrexate may cause very serious side effects. Some side effects of methotrexate may cause death. You should only take methotrexate to treat life-threatening cancer, or certain other conditions that are very severe and that cannot be treated with other medications. Talk to your doctor about the risks of taking methotrexate for your condition.

Tell your doctor if you have or have ever had excess fluid in your stomach area or in the space around your lungs and if you have or have ever had kidney disease. Also tell your doctor if you are taking nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAID) such as aspirin, choline magnesium trisalicylate (Tricosal, Trilisate), ibuprofen (Advil, Motrin), magnesium salicylate (Doan's), naproxen (Aleve, Naprosyn), or salsalate. These conditions and medications may increase the risk that you will develop serious side effects of methotrexate. Your doctor will monitor you more carefully and may need to give you a lower dose of methotrexate or stop your treatment with methotrexate.

Methotrexate may cause a decrease in the number of blood cells made by your bone marrow. Tell your doctor if you have or have ever had a low number of any type of blood cells or any other problem with your blood cells. Your doctor may tell you not to take methotrexate unless you have life-threatening cancer. Call your doctor immediately if you experience any of the following symptoms: sore throat, chills, fever, or other signs of infection; unusual bruising or bleeding; excessive tiredness; pale skin; or shortness of breath.

Methotrexate may cause liver damage, especially when it is taken for a long period of time. If you drink or have ever drunk large amounts of alcohol or if you have or have ever had liver disease, your doctor may tell you not to take methotrexate unless you have a life-threatening form of cancer because there is a higher risk that you will develop liver damage. The risk that you will develop liver damage may also be higher if you are elderly, obese, or have diabetes. Tell your doctor if you are taking any of the following medications: acitretin (Soriatane), azathioprine (Imuran), isotretinoin (Accutane), sulfasalazine (Azulfidine), or tretinoin (Vesanoid). To decrease the risk of developing liver damage, do not drink alcohol while you are taking methotrexate. Call your doctor immediately if you experience any of the following symptoms: nausea, extreme tiredness, lack of energy, loss of appetite, pain in the upper right part of the stomach, yellowing of the skin or eyes, or flu-like symptoms. Your doctor may order liver biopsies (removal of a small piece of liver tissue to be examined in a laboratory) before and during your treatment with methotrexate.

Methotrexate may cause lung damage. Tell your doctor if you have or have ever had lung disease. Call your doctor immediately if you experience any of the following symptoms: dry cough, fever, or shortness of breath.

Methotrexate may cause damage to the lining of your mouth, stomach or intestines. Tell your doctor if you have or have ever had stomach ulcers or ulcerative colitis (condition in which part or all of the lining of the intestine is swollen or worn away). If you experience any of the following symptoms, stop taking methotrexate and call your doctor right away: mouth sores, diarrhea, black, tarry, or bloody stools, or vomit that is bloody or looks like coffee grounds.

Taking methotrexate may increase the risk that you will develop lymphoma (cancer that begins in the cells of the immune system). If you do develop lymphoma, it might go away without treatment when you stop taking methotrexate, or it might need to be treated with chemotherapy.

If you are taking methotrexate to treat cancer, you may develop certain complications as methotrexate works to destroy the cancer cells. Your doctor will monitor you carefully and treat these complications if they occur.

Methotrexate may cause serious or life-threatening skin reactions. If you experience any of the following symptoms, call your doctor immediately: fever, rash, blisters, or peeling skin.

Methotrexate may decrease the activity of your immune system, and you may develop serious infections. Tell your doctor if you have any type of infection and if you have or have ever had any condition that affects your immune system. Your doctor may tell you that you should not take methotrexate unless you have life-threatening cancer. If you experience signs of infection such as a sore throat, cough, fever, or chills, call your doctor immediately.

If you take methotrexate while you are being treated with radiation therapy for cancer, methotrexate may increase the risk that the radiation therapy will cause damage to your skin, bones, or other parts of your body.

Keep all appointments with your doctor and the laboratory. Your doctor will order certain lab tests before, during, and after your treatment to check your body's response to methotrexate and to treat side effects before they become severe.

Tell your doctor if you or your partner is pregnant or plan to become pregnant. If you are female, you will need to take a pregnancy test before you begin taking methotrexate. Use a reliable method of birth control so that you or your partner will not become pregnant during or shortly after your treatment. If you are male, you and your female partner should continue to use birth control for 3 months after you stop taking methotrexate. If you are female, you should continue to use birth control until you have had one menstrual period that began after you stopped taking methotrexate. If you or your partner become pregnant, call your doctor immediately. Methotrexate may harm the fetus.

 

 

 

คราวนี้มาอ่านบทความจากแพทย์ไทยบ้างค่ะ

โรคสะเก็ดเงิน หรือ เรื้อนกวาง (Psoriasis) เป็นโรคที่เรียกว่า wax and wane คือเป็นๆหายๆ เดี๋ยวมาเดี๋ยวไป กำเริบบ้าง สงบบ้าง สลับกันไป ไม่หายขาด เป็นเรื้อรัง แต่ก็อาจสงบหายไปได้เป็นปีๆ ก่อนจะกำเริบใหม่

คนไข้คงอยากเรียกว่าโรคกรรมโรคเวร เพราะเป็นสิ่งที่เวลาเป็น มองเห็นทีไรก็สร้างความหงุดหงิด รำคาญใจว่าเราเป็นอะไร กลัวใครๆ รังเกียจ
เป็นมากๆเข้าก็เครียด เลยยิ่งพาลเป็นมากขึ้น เพราะปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เป็นมากขึ้นคือความเครียด และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิด การใช้ยาบางตัวเช่น ยาโรคหัวใจในกลุ่มเบต้าบล็อคเกอร์ ยาต้านมาลาเรีย หรือยาต้านการอักเสบพวก NSAIDs

อาการที่เป็น มักแสดงออกที่ผิวหนัง อาจเป็นผื่นแดง มีสะเก็ดสีขาวเงิน เป็นขุยๆ ถึงได้เรียกสะเก็ดเงิน พอหลุดออกไปก็จะมีเลือดออกเป็นจุดๆ

บางทีเป็นผื่นหนา แข็ง เป็นแผ่นๆ แบบนี้เวลาทายาอาจต้องใช้ยาที่ทำให้ผิวหนังแข็งๆหลุดลอกออกก่อน ยาจะได้ดูดซึมไปออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น พวกนี้มักเป็นที่ศอก เข่า หนังศีรษะ ลามไปที่ตัว แขน ขา หน้า หู มือ เท้า เล็บ

บางคนเป็นจุดๆสีแดง ทั่วตัว

บางครั้งอาจมีอาการอักเสบของข้อร่วมด้วย

โรคนี้ไม่ติดต่อ แต่คนทั่วไปก็มักจะไม่ทราบและหลีกเลี่ยงผู้ป่วย พบว่าคนในครอบครัวเดียวกันมักมียีนบางตำแหน่งที่แสดงการเกิดโรคนี้
โดยเฉพาะแบบที่มีข้ออักเสบ มีสิทธิ์เป็นได้มากกว่าคนที่ครอบครัวไม่เป็น

โรคสะเก็ดเงินเกิดจากการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับ T-lymphocytes (T-cells) โดยที่ T-cells ที่ถูกกระตุ้นจะหลั่งสารที่เรียกว่า Cytokines ออกมา ทำให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังและการผลัดผิวอย่างรวดเร็ว ก็เลยเห็นอาการผิวหนังเป็นขุย เป็นแผ่น หนา ลอก

ดังนั้นการรักษาก็คือจัดการกับระบบอิมมูนที่ผิดปกติซะ เช่นการใช้สเตียรอยด์ หรือยาที่ทำให้การผลัดผิวเป็นปกติมากขึ้น การรักษาจะแตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค การตอบสนองของผู้ป่วย และการทนต่อยา

ถ้าเป็นไม่มากนักก็ใช้ยาทา เป็นมากขึ้นมาหน่อยก็ใช้การรักษาโดยการฉายแสง UV ร่วมกับ Chemotherapy แล้วก็ผลัดเปลี่ยนวิธีรักษาเวียนไปเรื่อยๆ เพื่อลดผลข้างเคียง และความเป็นพิษของยา

วิธีที่ไม่ใช้ยา ก็มี สำหรับคนที่ไม่ชอบใช้ยา แต่ชอบการดูแลตัวเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะรักษาให้หายได้
เพียงแต่ชะลอการกำเริบของโรคเท่านั้น ที่แน่ๆ คือ

- ลดความเครียด เพราะสามารถลดได้ทั้งระยะเวลาและความรุนแรงของโรค

- แช่น้ำข้าวโอ๊ตอุ่นๅ เพื่อลดอาการคัน (กินจะอร่อยกว่าไหมเนี่ย) เป็นวิธีของฝรั่ง คนไทยคงต้องน้ำข้าวอุ่นๆ แต่ข้าวโอ๊ตมี วิตามิน B สูง ก็อาจจะดีกว่าน้ำข้าวขาวที่ผ่านการขัดสีแล้วของเรา

-ทาครีมหรือโลชั่นที่ปราศจากน้ำหอม เพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้นขึ้น วันละหลายๆหน เพื่อลดอาการแห้งแตกของผิว

-หลีกเลี่ยงของที่ระคายผิว เช่น การใช้สบู่แรงๆหอมไปสามคุ้งน้ำ ฟอกแล้วผิวสะอาดถูดังเอี๊ยด หลีกเลี่ยงการใช้ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ต้องทำตัวเป็นคุณนาย ถ้าจำเป็นก็ใช้ถุงมือ

-หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ แสบร้อนของผิวหนัง อย่างเช่น sunburn อย่าคิดว่าดำอยู่แล้ว ไม่เป็นไร ดำก็ผิวไหม้ได้ แต่อาจช้ากว่าพวกฝรั่งขาวๆเท่านั้นเอง เวลาคันก็อย่าขูดข่วนแกะเกาจนถลอก

ส่วนใหญ่การใช้ยาทาเฉพาะที่มักจะได้ผล 70-80% ของผู้ป่วยทั้งหมด เพราะฉะนั้นพอมีอาการแล้วก็ใช้ยาเถอะ
ข้างบนที่ว่ามานั่นเก็บเอาไว้เวลาไม่มีอาการดีกว่า

ยาทาที่ใช้ก็คือสเตียรอยด์ ซึ่งมีหลายชนิด หลายความเข้มข้น

รายที่อาการปานกลางก็ใช้ 0.05% - 1% Betamethasone valerate

พออาการดีขึ้นแล้วก็ลดความแรงของยาลงมาเป็น 0.5% - 2% Hydrocortisone

คนที่เป็นที่หน้าหรือข้อพับ ซึ่งผิวอ่อนบาง ควรใช้ตัวที่ไม่แรงมากอย่าง 0.5% Hydrocortisone

รายที่อาการมากๆ มีผื่นหนาแข็งเป็น plaque ก็อาจใช้ตัวที่แรงขึ้นมาเช่น Fluocinonide, Clobetasol, Halobetasol, Betamethasone dipropionate (สังเกตว่าชื่อยาเดียวกัน แต่ตัวต่อท้ายไม่เหมือนกัน ความแรงจะไม่เท่ากันกับ Betamethasone valerate ตัวข้างบน )

แต่ที่สำคัญมากก็คือ อย่าใช้นาน ควรใช้แค่ระยะสั้นๆ แล้วหยุด
เช่น ใช้แค่อาทิตย์ละ 1-2 วัน จำง่ายๆก็คือ "Weekend Therapy" เท่านั้น

อีกอย่างหนึ่งก็คือ ยาทาพวกนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเป็น ointment การดูดซึมจะดี แต่เหนอะหนะ ครีมหรือโลชั่นจะทาง่ายกว่า โฟมจะเหมาะกับบริเวณที่ผิวบางๆ

อีกตัวที่เป็นยาทาที่ดีก็คือ Calcipotriol เป็น Vitamin D analogues ซึ่งได้ผลดีพอๆกับการใช้ Betamethasone dipropionate แต่ไม่ค่อยระคายเคือง ก็เลยเหมาะจะใช้กับผิวอ่อนบางที่หน้าหรือข้อพับ
บางทีก็ใช้ร่วมกันทั้งสองตัว แต่ระวังอย่าใช้ร่วมกับ Salicylic acid เพราะจะทำลายฤทธิ์ของ Calcipotriol

ถ้าเป็นผื่นหนาแข็งก็ต้องใช้ Salicylic acid ร่วมกับสเตียรอยด์ เพื่อให้สเตียรอยด์เข้าถึงผิวหนังชั้นในได้ง่ายขึ้น
เนื่องจาก Salicylic acid จะไปทำลาย keratin ทำให้ผิวหนังนุ่มขึ้น การรักษาก็จะดีขึ้น

ขอขอบคุณ > > http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lordvoldemormor&date=18-04-2008&group=4&gblog=30

 

โครงการกิจกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ณ สถาบันโรคผิวหนัง

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550

ไขข้อข้องใจเรื่องโรคสะเก็ดเงิน

วิทยากร พญ.วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์

สรุปคำถาม-คำตอบจากผู้เข้าร่วมประชุม

คำถาม โรคสะเก็ดเงินแยกจากโรคอื่นได้อย่างไร?

คำตอบ ส่วนมากที่พบคือต้องแยกออกจากโรคเชื้อรา โดยโรคสะเก็ดเงินเป็นความผิดปกติในร่างกายพบได้ทุกส่วน เช่น ศีรษะ, เล็บและการเกิดสะเก็ดเงินที่ศีรษะก็ไม่ได้ทำให้เกิดผมร่วง ส่วนเชื้อราถ้าพบที่เส้นผม เชื้อราจะกัดกินเส้นผม ทำให้ผมหัก ผมร่วงและเมื่อขูดเชื้อไปตรวจะพบเชื้อรา ถ้าหากเกิดความผิดปกติที่เล็บในบางครั้งอาจแยกกันยาก โรคสะเก็ดเงินสามารถพบได้ทุกเล็บ แต่เชื้อราจะไม่ค่อยพบเป็นหลายๆเล็บ ดังนั้นในการรักษาควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยโรคและไม่ควรซื้อยามาทาหรือรับประทานเอง

คำถาม สะเก็ดเงินลุกลามเป็นมะเร็งผิวหนังได้หรือไม่ ?

คำตอบ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้เหมือนกับคนปกติ ซึ่งในการรักษาโดยใช้น้ำมันดินหรือการรักษาโดยการฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต อาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ แต่ในการรักษาแพทย์จะประเมินการรักษาเป็นระยะจึงไม่ต้องกังวลในประเด็นนี้

คำถาม เราสามารถสำรวจตัวเองได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งที่ผิวหนังหรือไม่

คำตอบ สังเกตโดยดูว่าผิวเป็นตุ่มเป็นก้อนที่โตเร็วมากหรือไม่ ถ้าพบแสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น

คำถาม การเปลี่ยนยาทาจากน้ำมันดินแบบอ่อนเปลี่ยนเป็นน้ำมันดินที่มีขนาดแรงขึ้น ผื่นดีขึ้นไม่เป็นขุย แต่ผื่นนูนขึ้นเป็นเม็ดๆ สาเหตุเกิดจากอะไร

คำตอบ ในการใช้ยารักษาโรคสะเก็ดเงินแพทย์จะประเมินปัจจัยในการรักษาดังนี้

- ยาที่ใช้สามารถลดผื่นสะเก็ดเงินได้หรือไม่

- ผื่นราบลงหรือไม่

- ความแดงของผื่นลดลงหรือไม่

หากไม่มั่นใจว่าอาการที่เป็นเกิดจากอะไร แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องเนื่องจากอาจเป็นผลจากปัจจัยอื่น

คำถาม ถ้าทายามากๆเป็นเวลานาน 5-10 ปี มีอันตรายหรือไม่

คำตอบ ยากลุ่มน้ำมันดินเมื่อใช้ยาทาเรื่อยๆไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนแต่ถ้าทายาแล้วไปตากแดดอาจทำให้เกิดผิวไหม้

ได้ส่วนสเตียรอยด์ ถ้าซื้อยาใช้เอง เมื่อหยุดยาผื่นมักเห่อเหมือนการกลับมาเป็นซ้ำอีก แพทย์กับยาเปรียบ

เหมือนเป็นเพื่อนกัน แพทย์จะทราบว่าควรใช้ยานี้อย่างไร ใช้นานแค่ไหนจึงจะปลอดภัยต่อคนไข้

คำถาม ใช้เดอร์โมเวทมาตลอดเป็นระยะเวลา 10 ปี ใช้ยาทาที่ข้อเท้า (4-5 วันจึงจะทายาสักครั้งหนึ่ง) ตนเองสังเกตว่าผิวหนังบางส่วนบางลงทำอย่างไรจึงจะหาย

คำตอบ การทายาในตำแหน่งต่างๆ มีความแตกต่างกัน การทายาแล้วหยุด ทาแล้วหยุด โอกาสเกิดผลเสียน้อยกว่าการทายาทุกวัน เดอร์โมเวทโดยปกติจะใช้ยาชนิดนี้กับผื่นที่มีความหนามากๆ ซึ่งถ้าใช้ไปนานๆจะทำให้เกิดผิวบางได้ หากเกิดผิวบางเกิดขึ้นเมื่อหยุดยาอาการจะค่อยๆดีขึ้น แต่ถ้าผิวแตกลายไม่สามารถกลับมาเป็นผิวหนังปกติได้

คำถาม การใช้น้ำปลาราดผื่นสะเก็ดเงินทำให้ผื่นดีขึ้นหรือไม่ และเคยได้ยินมาว่าการแช่น้ำทะเลทำให้ผื่นดีขึ้นเป็นความจริงหรือไม่

คำตอบ การที่แช่น้ำทะเลแล้วทำให้ผื่นดีขึ้นอาจเกิดมาจาก

1. ได้ความสบายใจผื่นจึงดีขึ้น จากการได้ไปสูดอากาศ

2. ได้รับแสงแดด การตากแดดตามธรรมชาติในแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ตากแดดที่ภาคใต้จะได้รับแสงมากกว่าที่ภาคเหนือ หรือไปทะเลแสงที่ได้มาจากแสงที่สะท้อนจากพื้นน้ำ, พื้นทรายด้วย

3. ได้ความเค็มของน้ำทะเล ที่ประเทศจอร์แดน, เดตซี น้ำทะเลมีความเค็มสูง นอนได้ไม่จมน้ำ แสงที่ส่องลงมามีความพอเหมาะในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน

ส่วนการใช้น้ำปลาราดผื่นสะเก็ดเงินแพทย์ไม่แนะนำเพราะเกรงว่าจะสะอาดไม่พอ ผลที่ได้อาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

คำถาม สามารถใช้น้ำเกลือแช่ตัวได้หรือไม่

คำตอบ การแช่น้ำเกลือโดยใช้เกลือแกง 2 ช้อนโต๊ะผสมในถังน้ำหนึ่งถัง การแช่น้ำเกลือสามารถดึงน้ำเข้าสู่ผิวได้แต่ถ้ามากเกินไปผิวจะแห้ง

คำถาม การตากแดดมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ผิวหนังหรือไม่

คำตอบ การตากแดดมีทั้งผลดีและผลเสีย ถ้าผื่นเห่อต้องทำให้ผื่นสงบลงก่อน การก่อให้เกิดมะเร็งต้องตากแดดเป็นระยะเวลา 10-15 ปี แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินตากแดดในระยะเวลาสั้นๆ

คำถาม ควรตากแดดในช่วงเวลาใดจึงจะดีต่อโรคสะเก็ดเงิน

คำตอบ ตากแดดอ่อนๆโดยต้องให้แสงตั้งฉากกับผิว คือต้องนอนตากแดดให้ผื่นบริเวณที่เป็นโดนแสงแดด และก่อนที่จะตากแดดควรทาโลชั่นเพื่อให้การกระจายแสงน้อยลง

คำถาม มีวิธีการรักษาที่สามารถรักษาโรคสะเก็ดเงินให้หายขาดได้หรือไม่

คำตอบ ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดๆที่สามารถรักษาให้หายขาดได้

คำถาม โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้หรือไม่

คำตอบ โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกรุ่น

คำถาม ทำไมช่วงอากาศหนาวผื่นจึงเป็นมากขึ้น

คำตอบ เป็นเพราะผิวแห้ง คัน ทำให้เกิดการอักเสบ เกิดผื่น

คำถาม ข้อห้ามของอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีอะไรบ้าง

คำตอบ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินควรงดดื่มเหล้า บุหรี่ กาแฟ ส่วนอาหารสามารถรับประทานได้เหมือนคนปกติ

คำถาม พืชผักสมุนไพรช่วยรักษาหรือบรรเทาโรคนี้ได้หรือไม่

คำตอบ ไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ ต้องปรึกษาแพทย์แผนไทย

คำถาม ดื่มน้ำปัสสาวะรักษาโรคนี้ได้หรือไม่

คำตอบ น้ำปัสสาวะแค่ปลอดเชื้อและปลอดเชื้อเฉพาะปัสสาวะที่ใหม่ๆเท่านั้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค

คำถาม ปัจจุบันไม่ได้ใช้ยาใดๆในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน เคยใช้ยาน้ำมันดินแต่ทนกลิ่นเหม็นไม่ได้จึงเลิกไป ถ้าไม่ทายาจะเกิดผลเสียหรือไม่

คำตอบ การรักษาโรคสะเก็ดเงินไม่เหมือนกัน การตอบสนองต่อตัวยาไม่เหมือนกัน บางรายใช้ยานิดเดียวผื่นหาย แต่บางรายใช้ยาตัวไหนก็แพ้ไม่สามารถใช้ได้ ถ้าไม่มีผื่นแดงที่ผิวก็ถือว่าผื่นหาย สิ่งสำคัญอย่าแกะ อย่าเกาเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบ ผื่นกำเริบได้

คำถาม การปฏิบัติธรรมช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินได้หรือไม่

คำตอบ ช่วยทางด้านสุขภาพจิต จิตใจสบายผื่นก็สงบได้

คำถาม ในอนาคตจะมียาที่ใช้รักษาโรคให้หายขาดได้หรือไม่

คำตอบ ในอดีตไม่มีวิธีไหนในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ต่อมามีน้ำมันดินใช้ในการรักษา,อนุพันธ์วิตามินดี,

ยารับประทาน, ยาฉีด เพราะฉะนั้นในอนาคตอาจมีวีธีการใหม่ๆในการรักษาเกิดขึ้น

คำถาม เคยใช้เดอร์โมเวทในการรักษาแต่ต่อมามีผลต่ออวัยวะภายในจึงเปลี่ยนไปรักษาโดยการฉายแสงแต่ผิวดำ เพราะอะไรผิวถึงดำ

คำตอบ การฉายแสงเหมือนกับการโดนแสงแดดตามธรรมชาติจึงทำให้เกิดผิวดำได้ ซึ่งโดยปกติจะทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนครบ 20 ครั้งแพทย์จึงจะประเมินผลการรักษาถ้าไม่ดีขึ้นก็เปลี่ยนไปใช้วิธีอื่น

คำถาม การสระด้วยแชมพูยาควรจะหมักผมไว้ก่อนหรือไม่

คำตอบ ควรหมักหนังศีรษะทิ้งไว้ 5 นาที

คำถาม สบู่ที่ควรเลือกใช้คือประเภทไหน

คำตอบ เลือกใช้สบู่ที่มีมอยเจอร์ไรเซอร์ ที่สำคัญอย่าขัด อย่าถูแรงๆ

คำถาม สามารถบริจาคโลหิตให้ผู้อื่นได้หรือไม่

คำตอบ สามารถบริจาคโลหิตได้ ไม่มีข้อห้าม

คำถาม การทำดีท็อกซ์ล้างสารพิษทำได้หรือไม่

คำตอบ การทำดีท็อกซ์เพื่อระบายท้องไม่ให้ท้องผูกสามารถทำได้แต่ไม่ควรทำบ่อย

คำถาม ถ้าไม่สามารถทายาได้ ควรเลือกใช้การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลตหรือการฉีดยา วิธีไหนจะมีผลดีกว่ากัน

คำตอบ การใช้ยาฉีดจะใช้ภายหลังจากการรักษาโดยการฉายแสง ถ้าฉายแสงไม่ได้ผลจึงจะพิจารณาใช้ยาฉีด

คำถาม ถ้าผื่นหายไม่ทายาได้หรือไม่

คำถาม สามารถหยุดทายาได้ ถ้าผื่นกำเริบก็เริ่มใช้ยาใหม่

คำถาม การรักษาด้วยการฝังเข็มช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินได้หรือไม่

คำตอบ มีการรายงานผลการรักษาบ้างแต่มีจำนวนไม่มาก

คำถาม ถ้าไปสระผมที่ร้านทำผมควรพูดอย่างไรจึงจะไม่ให้คนอื่นรังเกียจ

คำตอบ ผื่นที่เป็นเหมือนเป็นขี้ไคล เกิดจากผิวหนังแบ่งตัวเร็วกว่าคนอื่น สิ่งสำคัญอย่าให้เกาแรงๆ อย่าให้เกิดบาดแผล

คำถาม สะเก็ดที่หลุดออกมามีเชื้อโรคหรือไม่

คำตอบ สะเก็ดที่หลุดออกมาไม่มีเชื้อโรค

ขอขอบคุณ > > http://www.inderm.go.th/News/07/04_04_qa_psor.htm

 

Medicine sometimes snatches away health, sometimes gives it.