Tuesday, December 13, 2011

อาการท้องผูกอย่างรุนแรง

333tongอิชั้นเป็น “ราชินีท้องผูก” ค่ะ เหนื่อยหน่ายทุกข์ใจกับอาการนี้มากๆ ลองยา สมุนไพร ชา และอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่าง ก็เป็นๆ หายๆ ระยะนี้วุ่นๆ เลยท้องผูกหนัก กลัวว่า “คุณริดฯ” จะกลับมาเยี่ยมเยียนอีก เลยกูเกิ้ลอ่านโน่นนี่ไปเรื่อยๆ เจออันนึงน่าสนใจ อยากลอง Oxy Powder ว่าจะลองสั่งจาก amazon.com มาลองเสียหน่อย ผลเป็นอย่างไรจะมารายงานค่ะ

แต่อันนี้เนื้อหาเค้าครอบคลุมดีมาก ลองอ่านดูนะคะ   

ภาวะท้องผูก ท้องผูกเรื้อรัง / Constipation

A word that means bowel movements are infrequent, difficult & seemingly incomplete. This could be due to diet, stress, dehydration, anxiety, illness, drugs & minimum physical activity.

Constipation can be treated & prevented by combining a high-fibre diet, exercise & careful use of laxatives. However if a disease is causing constipation then the disease needs to be treated.

The squat position is actually the best position to have bowels released.

The relief plan :
- Vegetables, whole grains (e.g. brown rice) & fruits are fibrous & must be consumed daily including drinking lots of fluid.
- Drink prune juice, pear juice or fresh beet juice.
- Take ground psyllium or flaxseeds (though they may contribute to more gas for some people) - mix 1 tablespoon of powder with water or fruit juice, followed by another glass of water, once daily.
-  Avoid
sugar & processed food.
-  Regular exercise can do wonders.
-  Chemical laxatives can be addictive & harmful to the large intestine (that's where the stools are) after long-term use.
-  Don't reject the body's call for bowel movement.

Constipation

Constipation

Constipation is a very common problem these a days. Our lives of constant rush, late nights and fat food habits have turned constipation into a problem of epidemic proportions. If a person does not pass stool at least once in 24 hours, he is considered to be constipated according to Ayurveda.

Causes
Accumulation of toxins in the colon as evidenced by a coated tongue is considered to be the main pathology. The cause of constipation on a pyhsical level is dietary - eating food which is difficult to digest. Our lifestyle also is an important factor – sleeping late, rushing off to work in the morning without giving proper time for evacuation, excessive stimulation like watching lot of television etc. all lead to constipation.
Mental factors like,
insomnia, nervousness, stress also cause constipation as do medical causes like, fever, infections and being bedridden for long.

Treatment:
Acute constipation, which usually indicates accumulation of toxins in the colon (ama), as in cases of fevers, severe bloating or gas fasting and a light diet should be followed.
Chronic constipation:
Dietary issues should be looked at in the first place. The aim should be to have oily and bulky foods like, dairy products, whole grains, bran, raw fruits and vegetables. Fruit juices like prune and grape can be taken. Olive and sesame oil should be used.

  • Triphala is a very famous Ayurvedic compound it consists of three tropical fruits, haritaki, amalaki, and bibhitaki. It is an excellent general colon cleanser and tonic as well as a Rasayan (rejuvenator). The normal dose is 5–15 gm. taken at bedtime with lukewarm water.
  • Aloe gel 1-2 teaspoons three times a day is also good.
  • Psyllium husk powder 1-2 teaspoons in warm water before sleeping is also very good.
  • Strong laxatives like senna and rhubarb are good for acute constipation but should be used with caution. In the long run they can precipitate constipation.
  • Enema – many cases of acute and chronic constipation which are not benefited by the above medications may requires enema therapy. A word of caution though; enema should only be undertaken under the guidance of an Ayurvedic expert only.

Other remedies:

  • The digestion must be improved with the use of light spices like, cumin seeds, coriander, turmeric powder, fennel and asafetida.
  • Drinking a glass of warm milk at the time of going to bed helps in evacuation, the next morning.
  • Do not stay up late in the night. Regulate your sleeping hours. Ayurveda advises to go to bed early and rise early.
  • In the morning after waking up, drinking a glass or two of water, preferably warm water, and then waiting for a few minutes before going for evacuation helps in cleaning the bowels.
  • Massaging the whole body with oil(abhayanga) once or twice a week and applying oil or ghee on the naval every day helps in curing constipation.

333tong_puk 


ภาวะท้องผูก ท้องผูกเรื้อรัง / Constipation

ท้องผูก หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระลำบาก ซึ่งมักร่วมด้วยการมีอุจจาระแข็ง กากอาหารที่เคลื่อนมาถึงลำไส้ใหญ่ใหม่ๆ จะยังค่อนข้างเหลวและมีน้ำอยู่มาก สำไส้ใหญ่จะดูดน้ำและสารบางอย่างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแห้งขึ้นและเป็นรูปร่างหรือเป็นก้อนมากขึ้น ถ้าอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้นานๆ หรือร่างกายมีภาวะขาดน้ำ น้ำในลำไส้ใหญ่จะถูกดูดกลับมากขึ้น ทำให้อุจจาระแข็งยิ่งขึ้น อาการท้องผูกอาจเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น อุปนิสัยในการถ่ายอุจจาระ การขาดการ เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย (เช่น ผู้ที่นั่งทำงานอยู่กับที่ทั้งวัน ผู้ป่วยที่นอนอยู่กับเตียงเป็นเวลานานๆ) รับประทาน อาหารหรือยาบางอย่างที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ขาดฮอร์โมนบางอย่าง (เช่น ฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์) 
ภาวะขาดน้ำ เป็นต้น

ประเด็นสำคัญ
พบว่ามีความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับอาการท้องผูกมาก กล่าวคือ ส่วนใหญ่ฝังใจการการเรียนว่า ควรถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกวัน แต่ความจริงมีว่า ท้องผูกคืออาการที่อุจจาระแห้ง แข็ง ถ่ายลำบาก การใช้ยาถ่าย ยาระบายมากเกินไป ทำให้เกิดการติดเป็นนิสัยได้ มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุของท้องผูกได้เช่นกัน เพราะก้อนเนื้อโตขวางทางไว้ การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำ มีผลดีต่อการทำงานของลำไส้ใหญ่ แก้ปัญหาท้องผูกได้ดีมาก 

333-Constipation-10
ท้องผูกคืออะไร ?
ท้องผูกคือสภาพที่การถ่ายอุจจาระเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากอุจจาระอยู่ในสภาพที่แห้ง แข็ง เป็นก้อนเล็กก้อนน้อยเหมือนขี้แพะ
จะเห็นว่า ความสำคัญอยู่ที่สภาพของอุจจาระมากกว่าที่จะเป็นความถี่ในการอุจจาระ คนมักจะเข้าใจว่า คนเราควรถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกวัน ซึ่งความจริงไม่จำเป็น ตราบใดที่การถ่ายอุจจาระแต่ละครั้งเป็นไป อย่างราบรื่น ไม่สร้างความทรมาน เจ็บปวดแก่ผู้นั้น


สาเหตุของท้องผูก
- การอั้นอุจจาระเป็นประจำ ทำให้นิสัยการถ่ายเสียไป เพราะตามปกติ เมื่อมีอุจจาระไปรอที่บริเวณลำไส้ใหญ่ ส่วนปลาย จะมีกระแสประสาทกระตุ้นเตือนให้เกิดการถ่าย แต่ถ้าอั้นไว้บ่อยๆ ระบบนี้ก็จะเสียไป ทำให้อุจจาระ สะสมในลำไส้ใหญ่นานเกินไป น้ำในอุจจาระจะถูกดูดกลับมากเกินไป ทำให้อุจจาระแห้งแข็ง 
- รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อยเกินไป
- การใช้ชีวิตแบบเฉยๆ เฉื่อยๆ นั่งๆนอนๆ ขาดการออกกำลังกาย หรือผู้ป่วยที่ต้องนอนพักบนเตียงติดต่อกันนานๆ
- รับประทานน้ำน้อยเกินไปในแต่ละวัน
- ความเครียด ข้อนี้ค่อนข้างแปลก เนื่องจากในบางคนความเครียดทำให้ท้องเสียได้เช่นกัน
- ยาบางชนิด ได้แก่
ยาแก้ปวดผสมโคเดอีนหรือฝิ่น
ยาแก้โรคซึมเศร้า เช่น Amitriptylene, Fluoxetine, Imipramine
ยาแก้ชัก เช่น Phenytoin, Carbamazepine
ยาบำรุงเลือด ประเภทธาตุเหล็ก
ยารักษาโรคหัวใจ เช่น Diltiazem, Nifedipine
ยาลดกรดที่มีเกลืออลูมิเนียม
การใช้ยาระบายประเภทที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่เป็นประจำ จนกระทั่งเกิดการติดยา ไม่สามารถหยุดยาได้ มีแต่จะต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นเรื่อยๆ
- โรคภัยไข้เจ็บบางชนิด เช่น Diverticulosis, Irritable Bowel Syndrome, มะเร็งลำไส้ใหญ่,
โรคของต่อมธัยรอยด์

333tp
การรักษา
ควรพิจารณาจากสาเหตุข้างบน และแก้ไข โดยมีแนวทางดังนี้

ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากๆ ได้แก่ ผัก ผลไม้ ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาท้องผูกแล้ว ยังมีผลดีต่อการลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และช่วยควบคุมโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง ด้วย กรณีที่ไม่สามารถทานได้ ก็ควรเสริมด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทเส้นใยอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ฝึกการถ่ายให้เป็นนิสัย ไม่อั้น ถ้ามีสัญญาณการถ่ายควรรีบถ่ายอุจจาระทันที เมื่อถึงเวลาถ่ายอุจจาระ ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือทำอะไรอย่างอื่นๆ จัดท่านั่งถ่ายให้ถูกต้อง คือ กรณีที่เป็นส้วมชักโครก ควรโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงเบ่งมากขึ้น เปลี่ยนทัศนคติเรื่อง "การถ่ายอุจจาระทุกวัน" เพราะท้องผูกขึ้นกับสภาพอุจจาระไม่ใช่ความถี่ พิจารณาใช้ยาระบายที่เหมาะสม โดยถือเป็นทางเลือกสุดท้าย ถ้าจำเป็นต้องใช้ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

การรักษา อาการท้องผูกให้หายขาด คงต้องพิจารณาหาสาเหตุและแก้ไขให้ตรงจุดเป็นกรณีๆ ไป การรักษาเฉพาะหน้าอาจทำได้โดย เพิ่มอาหารที่มีกากหรือเส้นใยมากขึ้น หรือ รับประทานยาระบาย หรือ สวนอุจจาระหรือเหน็บยาระบายทางทวารหนัก ไม่ควรรับประทานยาระบายบ่อยๆ เพราะจะทำให้ลำไส้เคยชินต่อยากระตุ้นได้ง่าย ทำให้ต้องรับประทานเป็นประจำและอาจต้องเพิ่มขนาดของยา ถ้าจำเป็นควรใช้การสวนหรือยาเหน็บทางทวารหนักจะดีกว่า

ผักและผลไม้ที่มีกากใยอาหารมากและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ พรุน ส้ม มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักโขม ข้าวกล้อง ฯลฯ โดยเฉพาะพรุนนั้น เป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์มากเป็นพิเศษ และยังเป็นไฟเบอร์ชนิดละลาย น้ำได้ ทางการแพทย์จึงนิยมใช้พรุน ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายตามธรรมชาติแก้ไขอาการท้องผูก
333Constipation-12

นอกจากนี้ พรุนยังเป็นผลไม้ที่ให้ผลทางด้านโภชนบำบัด สำหรับคนที่มีปัญหาทางระบบขับถ่ายริดสีดวงทวาร และโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้โป่งพองได้เป็นอย่างดี การรับประทานลูกพรุนนั้น ไม่ว่าจะรับประทานเป็นพรุนสด หรือพรุนสกัดเข้มข้นก็มีส่วนช่วย ให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติได้ แต่แพทย์ไม่แนะนำให้รับประทานพรุนแห้ง เนื่องจากในพรุนแห้ง จะมีส่วนผสมของน้ำตาลค่อนข้างมาก ซึ่งถ้าบริโภคมากอาจทำให้เกิด
โรคอ้วนตามมาได้

ส่วนข้อดีของการรับประทานพรุน นอกจากจะช่วยในเรื่องระบบการขับถ่ายแล้ว คุณแม่ยังจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อีกหลายชนิด ซึ่งสามารถช่วยป้องกัน และแก้ไขอาการของโรคอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ช่วยลดโคเลสเตอรอล ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขจัดสารพิษที่ตกค้างในลำไส้ ให้ออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น ช่วยป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้พรุนยังมีธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันภาวะ
โลหิตจางในคุณแม่หลังคลอดด้วย

นอกเหนือจากจะเพิ่มการรับประทานอาหาร ที่มีกากใยอาหาร ให้มากขึ้นแล้ว ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย วันละ 6-8 แก้ว เพื่อให้กากใยอาหารที่ได้รับเข้าไปทำงานได้ดีขึ้น ควบคู่กับ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ลำไส้จะได้มีการเคลื่อนไหว และสามารถขับเอากากอาหารออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญคือ ต้องพยายามฝึกตนเองให้ขับถ่ายเป็นเวลา จะเป็นช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ เพื่อที่ลำไส้จะได้เกิดความเคยชินกับการ
ขับถ่ายเป็นเวลา

การป้องกัน
- ฝึกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา จะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้
- รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใย เช่น ผัก ผลไม้ มากขึ้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อบริเวณท้อง
- การไม่ถ่ายอุจจาระเพราะไม่มีกากอาหาร เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ได้ หรือ รับประทานอาหารที่ไม่มีกาก ไม่เรียกว่าท้องผูก

3338100557
ท้องผูก(Constipation) 

พ.ท. สุรพล สุรางค์ศรีรัฐ

--------------------------------------------------------------------------------

คนทั่วไปยังเชื่อว่า คนที่มีสุขภาพดี ต้องถ่ายอุจจาระวันละครั้ง ทุกวัน แต่ความเป็นจริงแล้ว คนจะถ่ายอุจจาระ ตั้งแต่สามวันละครั้ง จนถึง วันละสามครั้ง โดยทั่วไปแล้ว ท้องผูก หมายถึง คนที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าอาทิตย์ละสองครั้ง โรคท้องผูก แตกต่างไปตาม เชื้อชาติ ความชุกของโรคท้องผูกในคนไทยไม่ทราบ แต่ในการสำรวจของคนอเมริกัน พบประมาณ 2% และ จะยิ่งพบมากขึ้นตามอายุ เพศหญิง ท้องผูกมากกว่าชาย ประมาณ 3 เท่า นอกจากนี้ เศรษฐานะ และ ความเครียดทางจิตใจ ก็มีส่วนทำให้ท้องผูกได้

การขับถ่ายอุจจาระ(Defecation]

กายวิภาคของการขับถ่ายอุจจาระประกอบด้วย ช่องทวารหนัก(rectum) กล้ามเนื้อเรียบ รอบช่องทวารหนัก ซึ่งประกอบเป็นหูรูดทวารหนักด้านใน(internal anal sphincter) และ หูรูดทวารหนักด้านนอก (external anal sphincter) และ เส้นประสาทที่ควบคุม กลไกการขับถ่ายอุจจาระ เริ่มต้นจากกากอาหาร ถูกส่งลงมาพักอยู่บริเวณ rectosigmoid area แล้วเกิดความรู้สึกปวดอุจจาระ อยากถ่าย เมื่อมีความรู้สึก อยากถ่ายอุจจาระ จะมีการคลายตัวของหูรูดทวารหนักด้านใน (internal anal sphincter) เมื่อเราพร้อม ที่จะถ่าย การอัดลมลงท้อง (vulsalva maneuver) จะทำให้อุจจาระถูกดันเคลื่อนลง พร้อมๆกับ การเปิด ของหูรูดทวารหนักด้านนอก

สาเหตุของท้องผูก และ การวินิจฉัยแยกโรค

1. โรคของกล้ามเนื้อน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุทางด้านเมตาบอลิสม เช่น เบาหวาน ไตวาย โปแตสเซียมต่ำ แคลเซียมสูง หรือ โรคทางต่อมไร้ท่อ เช่น hypothyroid, hypopituitarism และ โรคของกล้ามเนื้อเรียบรอบทวาร เช่น scleroderma, amyloid เป็นต้น

2. โรคของระบบประสาท เช่น autonomic neuropathy, tabes dorsalis, cerebrovascular accident, multiple sclerosis เป็นต้น

3. โรคของลำไส้และทวารหนัก เช่น ลำไส้อุดตันจากมะเร็ง, ไส้เลื่อน, volvulus, พังพืดยึดติด(adhesion)

4. ยาบางชนิดที่ทำให้ท้องผูก เช่น opiates, anticholinergics, calcium-channel blockers, aluminium and calcium containing compounds เป็นต้น สาเหตุจากยานี้ เป็นสาเหตุที่พบ ได้บ่อย และ มักต้องคิดถึงเป็นอันดับแรกเสมอ

5. สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ อุจจาระแข็งตัวเป็นก้อน(impact feces) ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหมดสติ ผู้ป่วยมีโรคทางสมอง หรือ บางรายที่หาสาเหตุไม่ได้ (idiopathic constipation) ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการบีบตัวของไส้ตรง (rectum) น้อยกว่าปกติ หรือประสาทที่รับรู้ความรู้สึกปวดถ่ายเสื่อมไป

 

Evaluation of constipation

Initial: - History and physical examination - Serum potassium, calcium, glucose, creatinine, and thyrotropin levels - Flexible proctosigmoidoscopy, barium colon radiography Intermediate: - Colonic transit marker study - Anorectal manometry Investigational: - Defeography - Electromyography - Recording colonic motor activity - Scintigraphic colonic transit study

333-constipation

การรักษา

คำแนะนำเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยทานอาหารที่มีใยพืชมากขึ้น เพราะใยพืช จะเพิ่มกากอาหาร หรือ ปริมาณเนื้ออุจจาระ และอุ้มน้ำ ทำให้อุจจาระอ่อน ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น พยายามถ่ายหลังอาหาร เนื่องจากมี gastrocolic response เป็น ตัวช่วยกระตุ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว เวลาเบ่ง ให้เบ่งให้ยาวขึ้นกว่าเดิม และ ให้ถ่ายทุกครั้ง ที่รู้สึกปวดถ่าย ไม่ให้อั้นไว้ อันอาจนำไปสู่ภาวะท้องผูกอีก


การใช้ยาระบาย ยาระบายแบ่งเป็น 4 ชนิดคือ


1. Bulb agent เป็นการเพิ่มใยพืช เพื่อให้อุจจาระมากและอ่อนตัวทำให้ถูกขับถ่ายออกง่ายขึ้น


2. Irritant or stimulant laxative:


- antraquinone compounds ซึ่งพบได้ในใบมะขามแขก (senna), ต้นหางจระเข้ (aloe), พืชผักบางชนิด (cascara or rhubarb) และในใบชาบางชนิด


- phenolphthalein - bisacodyl แต่ต้องระวังการใช้ยากลุ่มที่สองนี้ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะอุจจาระแข็งจับเป็นก้อน (fecal impaction)


3. Osmotic agents เป็นตัวอุ่มน้ำ เพิ่มปริมาตรน้ำในอุจจาระ กลุ่มนี้ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ และ ยังใช้ได้ ดีอยู่ คือ magnesium compound (Milk of Magnesia) แต่ในผู้ป่วยที่ไตทำงานผิดปกติต้องระวัง เพราะระดับแมกนีเซียมในเลือด อาจสูงถึงขั้นอันตรายได้ ส่วนน้ำมันระหุ่ง(caster oil) ใช้น้อยลง และ ต้องระวังการใช้น้ำมันระหุ่ง ในผู้สูงอายุ หรือ ไม่ค่อยรู้สึกตัว เพราะถ้ามีการสำลัก จะทำให้เกิดปอดอักเสบ ที่เรียกว่า lipoid pneumonia ได้ ถ้าใช้เป็นระยะเวลานาน จะทำให้ขาดวิตามิน ที่ละลายในไขมัน เพระ ถูกดูดซึมน้อยลง


4. Neuromuscular transmitter ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ของลำไส้ มักไม่ค่อยได้ผลดี เช่น bethanechol chloride เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณ receptors ใน กล้ามเนื้อเรียบ หรือ neostigmine bromide ไปกดการทำลาย endogenous acetylcholine esterase เพื่อเพิ่มการบีบตัว แต่ยังมีผลข้างเคียงมาก การใช้ยาเหน็บ(suppository) อาจได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย ที่ท้องผูกเกิดจากอุจจาระอุดส่วนปลาย (rectal outlet obstruction) คือ มีอุจจาระแข็งเป็นก้อน อุดกั้นทางออก (impact feces) บริเวณ rectosigmoid colon เนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช้ากว่าปกติ

333
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากท้องผูก - อุจจาระแข็งตัวเป็นก้อน
- อุจจาระเล็ดลอด
- ปวดท้องเรื้อรัง
- ลำไส้บวมและโป่งพอง (acquired megacolon or megarectum)
- sigmoid volvulus
- stercoral ulceration

โรคแทรกซ้อนที่ยังไม่ได้พิสูจน์แน่ชัดว่าเกิดจากท้องผูกหรือไม่ได้แก่
- hemorrhoid
- CA colon
- melanosis coli

Reference:
Haubrich WS, Schaffner F, Berk JE. 1995 “Bockus Gastroenterology” fifth edition,
W.B. Saunders company. pp.102-112.

333946316


ปัญหาภาวะท้องผูกในเด็กทารกและเด็กเล็ก
นอกจากนี้อาการท้องผูก ยังอาจเกิดได้กับทารกและเด็กเล็ก ซึ่งความทรมานจากอาหารท้องผูกที่เกิดขึ้นกับเด็ก คงไม่แตกต่างจากคุณแม่สักเท่าไร เพียงแต่เด็กไม่สามารถบอกได้ว่า เขากำลังท้องผูก ดังนั้นคุณแม่จึงควรสังเกตอาการผิดปกติของลูกด้วย เช่น หากลูกน้อยไม่ยอมถ่าย 2-3 วัน (ซึ่งปกติจะถ่ายทุกวัน) และมีการร้องไห้บ่อยครั้ง ให้ตั้งข้อสังเกตว่า ลูกคงถูกอาการท้องผูกเล่นงานให้แล้ว

สิ่งที่คุณแม่ควรปฏิบัติเมื่อลูกท้องผูกคือ ให้ลูกดื่มนมตามปกติ แต่ควรป้องน้ำตาลผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำผลไม้เจือจางด้วยน้ำ เช่น พรุนสกัดโดยเพิ่มให้ทีละน้อย อย่ารีบร้อน เพราะเด็กอาจจะท้องเสียได้

หากเป็นเด็กที่โตขึ้นมาอีกนิด คุณแม่ควรเพิ่มอาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น เช่น นำผักมาสับผสมกับข้าว หรือให้ดื่มน้ำผลไม้ที่มีเนื้อผลไม้ปนอยู่ ถ้าเด็กโตให้ดื่มนมจากแก้วแทนขวด เพื่อให้เด็กดื่มนมได้น้อยลง ทำให้กินอาหารอื่นได้มากขึ้น และช่วงนี้คุณแม่ควรหัดให้เด็กกินอาหาร จำพวกผักผลไม้ได้แล้ว โดยเริ่มจากผักที่มีกลิ่นไม่ฉุนจนเกินไปก่อน

หากเด็กท้องผูกมากจนอุจจาระแข็งบาดก้นขณะเบ่งถ่าย คุณแม่ควรช่วยลูกโดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดให้ หรืออาจจะให้เด็ก นั่งแช่ในน้ำอุ่นสัก 5 นาที ทุกครั้งหลังจากลูกถ่าย และไม่ควรให้เด็ก รับประทานยาใดๆ โดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เด็กถ่ายรุนแรงจนเป็นอันตรายได้

จะเห็นได้ว่า เด็กแต่ละวัยต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน แต่วิธีที่จะช่วยเด็กได้ดีที่สุดก็คือ ไม่ควรปล่อยให้อาการท้องผูกเกิดขึ้นกับเด็ก ฉะนั้นคุณแม่จึงควรให้ลูก ๆ กินอาหารที่มีกากใยอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นดีที่สุด และเพื่อระบบการขับถ่ายที่ดีของทั้งคุณแม่และคุณลูก อาหารที่คุณแม่จะจัดขึ้นโต๊ะให้กับสมาชิกในครอบครัวในแต่ละวัน ต้องไม่ลืมที่จะใส่เมนูที่มีส่วนประกอบของปริมาณกากใยอาหารเพิ่มเข้าไปด้วย และอาจจะเสิร์ฟพร้อมด้วยน้ำผลไม้สัก 1 แก้ว เพียงเท่านั้น บ้านของคุณก็จะมียันต์ป้องกันอาการท้องผูก ให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว

333ConstipatedRectumDiagram

คำถามและข้อสงสัยที่พบได้บ่อยในเรื่องท้องผูก


 


ถาม. ส่วนใหญ่เราจะพบว่าคนไข้มักจะใช้ยาระบาย ถือว่าเป็นการแก้ไขที่ถูกต้องหรือไม่


ตอบ การใช้ยาถ่ายหรือยาระบายในช่วยสั้นๆ ถือว่า ไม่เป็นไรสามารถใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ในระยะยาว ควร รีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ


 


ถาม. วิธีการรักษาในปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูกเรื้อรัง


ตอบ ก่อนอื่น แพทย์จะทำการซักประวัติ ถ้าในรายที่แพทย์คิดว่ามีอาการผิดปกติของตัวลำไส้ใหญ่ หรือยังบอกไม่ได้ชัดเจน แพทย์อาจจะมีการเจาะเลือด หรือแนะนำให้มีการตรวจเพิ่มเติมพิเศษ เช่น การสวนแป้ง การใช้กล้องส่องทางทวาร ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งหมด หลังจากที่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุของอะไร อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจการทำงานของตัวลำไส้ใหญ่ เพื่อดูการทำงานของตัวลำไส้ใหญ่
จริงๆการรักษาเรายังต้องเน้นในการปฏิบัติตนของตัวคนไข้ที่จะต้องช่วยกับแพทย์ในรายที่ไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การรักษาจะประกอบไปด้วย


1. ให้ปรับปรุงอุปนิสัย เช่น รับประทานอาหารที่มีกากมากขึ้น ดื่มน้ำ 6- 8 แก้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือ รับประทานอาหารบางชนิด เช่น การดื่มน้ำลูกพรุน    


2. ให้รับประทานยาระบาย บางชนิดที่มีความปลอดภัย ซึ่งจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์     


3. การผ่าตัด ในกรณีที่พบว่ามีการเคลื่อนไหวของตัวลำไส้ใหญ่ที่ช้ามาก อาจจะต้องตัดลำไส้ออก


 


ถาม. มีภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยหรือไม่


ตอบ ปัญหาใหญ่ ก็คือ คนไข้จะรู้สึกรำคาญ อึดอัดในช่องท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ปวดท้อง ทำให้รับประทาน อาหารน้อยลง และบางรายอุจจาระที่ถ่ายไม่ออกหลายๆวันจะไปอุดตันจนไม่สามารถถ่ายออก จะมีอาการต่างๆ ข้างต้น บางครั้ง ถ้าลำไส้อุดตันอาจจะมีอาการท้องเสียตามมาด้วย ในบางราย ( พบน้อย ) อาจะทำให้มีอาการ ลำไส้โป่งพองมาก มีโอกาสแตกทะลุ นอกจากนั้นอาจจะทำให้มีการสูญเสียเกลือแร่และน้ำ ถาม. วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูกควรทำอย่างไร ตอบ ประการสำคัญ ก็คือ เรื่องของอุปนิสัยของการกินอาหารและการดื่มน้ำ จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ถ้าพยายามปรับเปลี่ยนอุปนิสัย เช่น ถ้าไม่ชอบรับประทานอาหารที่มีกาก อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงการรับ ประทานอาหารที่มีกากให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ พยายามดื่มน้ำ ออกกำลังกายให้มากขึ้น นอกจากนี้ ควร จะต้องดูสาเหตุเสริมว่า อะไรเป็นสาเหตุเสริมที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกก็ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆเหล่านั้น และที่สำคัญควรตรวจเช็คสุขภาพประจำปี ก็สามารถบอกได้ว่า ที่มีสาเหตุเสริมที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เสริมอื่นๆอีกหรือไม่ นอกจากนี้ อาจจะต้องสังเกตตัวเองเสริมสักนิดว่า ขณะที่มีภาวะอาการท้องผูกแล้วยังมี ภาวะอื่นๆแทรกซ้อนอีกหรือไม่ ถ้ามีควรรีบมาพบแพทย์


 


ถาม. ข้อแนะนำช่วงท้ายรายการ


ตอบ อาการท้องผูก เป็นอาการที่เราพบบ่อยมาก ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นอาจเป็นสามารถที่เราสามารถป้องกัน กันได้ โดยการปฏิบัติตัวอย่างง่ายๆ ที่กล่าวไปข้างต้น แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้ามีอาการท้องผูกร่วมกับอาการ ผิดปกติ อาทิ ปวดท้องมาก น้ำหนักลด ถ่ายเป็นมูกเลือด บางครั้งมีประวัติครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ กลุ่มนี้ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น ถ้ายังมีอาการอยู่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง และยังมีอาการ บ่งบอกถึงภาวะหรือโรคบางโรคที่จำเป็นต้องขอคำปรึกษาจากแพทย์ สุดท้าย การรักษาสุขภาพจิตและกาย ให้ดีไม่เป็นคนที่เครียดง่ายจะช่ววยให้ภาวะโรคทุกโรคลดน้อยลงครับ


 


ถาม. ลักษณะอาการอย่างไรถึงจะเรียกว่าอาการท้องผูก


ตอบ ผมเชื่อว่าท่านผู้ฟังคงไม่ปฎิเสธว่า น้อยคนจะไม่เคยประสบปัญหาอาการท้องผูกเลย จริงๆท้องผูกเป็น ปัญหาเรื่องของอาการมากกว่าที่จะเรียกว่าเป็นโรค อาการท้องผูกนั้น หมายถึง คนไข้มีภาวะผิดปกติของการ ถ่ายอุจจาระ ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะที่สำคัญ คือ จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระน้อยผิดปกติ โดยทั่วไป น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ถือว่าผิดปกติ โดยที่การถ่ายอุจจาระนั้นๆมีลักษณะเป็นก้อนที่แข็งขึ้น หรือเป็น ก้อนที่เล็กลง จริงๆแล้วความชุกของอาการท้องผูกเราพบได้ประมาณร้อยละ 5 - 20 และพบในผู้หญิงมาก กว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งแต่วัยกลางคนขึ้น ในกลุ่มที่พบบ่อยอีกกลุ่มก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ โดยอายุมากกว่า 60- 65 ปีขึ้นไปบางคนอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเชื้อชาติอีกด้วย ซึ่งจะพบกลุ่มคนผิวดำมากกว่า คนผิวขาว นอกจากนั้นปัจจัยแวดล้อมก็อาจจะมีภาวะท้องผูกได้ เช่น ถิ่นที่อยู่อาศัย สภาพอากาศที่หนาวเย็น หรือเศรษฐานะ


333Constipation


ถาม. สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกนอกจากที่เรียนข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆร่วม อีกด้วยหรือไม่


ตอบ จริงๆแล้วสาเหตุที่เราพบบ่อยๆ


1. เรื่องของการปฏิบัติตัว มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ชอบรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีกากผสม เช่น ไม่ค่อ


ยรับประทานผักเลย หรือดื่มน้ำน้อยมาก หรือไม่ชอบออกกำลังกาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการ ท้องผูกได้ง่ายๆ ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่มีลักษณะสิ่งแวดล้อมที่ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง


2. เรื่องของยา ปรากฏว่ามีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานยา เนื่องจากในปัจจุบัน มีความจำเป็นที่ต้องอาศัยยากันเยอะ เพราะคนไข้ที่สูงอายุมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาค่อนข้างเยอะ ไม่ว่า จะเป็นยาคลายเครียด ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาแก้ความดันสูง ยาลดกรด เป็นต้น


3. มีภาวะบางภาวะที่ร่างกายมีโรคประจำโรคอื่นอยู่แล้วทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น โรคเบาหวาน นอกจากนี้ ยังมีโรคของระบบประสาท นอกจากนี้อาจจะมีภาวะที่สำคัญ เช่น ก้อนเนื้องอก หรือมะเร็ง เข้าไปอุดกั้นบริเวณลำไส้ ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่ออก จึงให้คนไข้ท้องผูก สุดท้ายอาจจะไม่พบสาเหตุ นอกจากนี้ อาจจะเป็นสาเหตุที่เราพบได้น้อย เช่น คนไข้มีภาวะการเคลื่อนไหวของตัวลำไส้น้อยลง มีการทำงานของส่วนอุ้งเชิงกรานในการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ


333constipation-death


ถาม. ในกลุ่มของผู้สูงอายุที่มีภาวะท้องผูกเราถือเป็นอาการผิดปกติหรือไม่


ตอบ ในกลุ่มของคนไข้ที่สูงอายุมีโอกาสที่จะพบภาวะท้องผูกสูงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุหลายสาเหตุด้วยกัน คือ


1. ผู้สูงอายุมักรับประทานอาหารน้อยลง บางคนจะรับประทานอาหารที่มีกากใยไม่ค่อยได้


2. ดื่มน้ำน้อยลง


3. ผู้สูงอายุมักจะมีภาวะของโรคอยู่หลายๆโรค ที่ทำให้มีโอกาสท้องผูกได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน


4. มีความรับรู้ความรู้สึกของตัวลำไส้น้อยลงที่เป็นไปตามอายุมากขึ้น นอกจากนี้คนสูงอายุยังมีโอกาส ของการเกิดโรคที่ไม่พึงปรารถนาได้หลายโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคพาร์กินสัน หรือการทำงานของต่อม บางอย่างที่ผิดปกติไป ถือว่าอาจจะเป็นสาเหตุเสริม


 


ถาม. การแก้ไขเบื้องต้นที่เหมาะสมและถูกต้อง


ตอบ เบื้องต้น ให้ดูที่สาเหตุก่อนว่า เป็นมานานแล้วหรือยัง โดยทั่วๆไปถ้าคนไข้มีอาการท้องผูกค่อยข้างนาน โอกาสที่จะเป็นโรคที่ไม่พึงปรารถนา เช่น โรคมะเร็ง จะมีโอกาสน้อย ส่วนมากในกลุ่มคนไข้ที่เป็นมานานมัก จะเป็นอาการท้องผูกเรื้อรัง ส่วนในคนไข้ที่พึ่งมีอาการให้ดูสาเหตุก่อนว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดอาการ ท้องผูกหรือไม่ เช่น เรื่องยา นอกจากนี้อาจจะดูด้วยว่า เรามีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วยที่อาจจะต้อง ระหว่าง เช่น ปวดท้องมาก ถ่ายเป็นมูกเลือด น้ำหนักลด


ขอบคุณ > > http://goo.gl/m78ch 3338Constipated People Don't Give A Crap.

No comments: