หลายๆ คำ อิชั้นเองก็ไม่เคยได้ยิน หลายๆ คำ ก็แปล…แปลกๆ พิจารณากันนะคะ
ขอบคุณที่มา > > http://www.wegointer.com/2015/04/138-interjection/
Well? แล้วยังไง? ต้องการอะไร? มีอะไรพูดอีกไหม?
Well, ก็ตามใจ อย่างนั้นก็ได้ (ยินยอมแบบไม่เต็มใจนัก) หรือ พอกันที (จบเรื่องแล้ว) หรือ เอ (แสดงความไม่แน่ใจ)
Well! อ้าว นึกว่าใคร (แสดงความประหลาดใจ)
Well then ถ้ายังงั้นละก็
O โอ้
Oh! (เสียงสูง) ยังงั้นรึ?, (เสียงต่ำ) โอ (แสดงความประหลาดใจหรือความดีอกดีใจ), (ทอดเสียงสูงขึ้นเป็นลำดับ) แสดงความประหลาดใจ หรือไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้, (เสียงต่ำ) อ้อ (แสดงว่านึกขึ้นได้ว่ามีอะไรจะพูดอีก), (เสียงต่ำ) เอาเถอะ ช่างเถอะ (แสดงความทอดอาลัย)
Hands off! อย่าจับต้อง อย่ามายุ่ง
Hands up! ยกมือขึ้น
Stick’em up! ยกมือขึ้น (ผู้ร้ายสมัยใหม่มักชอบใช้แบบนี้)
For shame! น่าอายจริง
Shame on you! น่าละอายจริง แกนี่!
Easy! เบาๆค่อยๆ (ไม่ใช่ง่ายๆ)
Go easy! ทีละน้อย
No fear! ไม่ได้แน่! ไม่มีทาง! (ไม่ใช่ไม่กลัวหรือไม่ต้องกลัว)
My word! แหม!
Good riddance! เออ ไปเสียก็ดี! พ้นๆไปเสียที!
None of your impudence! อย่าทะลึ่งนักเลย
What cheek! ทะลึ่งจริง
For goodness’ sake! เพื่อเห็นแก่พระเจ้า
a penny for your thought กำลังคิดอะไรง่วนอยู่? (ถ้าบอกมาจะให้สตางค์)
Get a move on! เร็วๆเข้า
Look sharp! เร็วๆเข้า
Look alive! เร่งไม้เร่งมือเข้า
Shut up! หยุดพูดที!
Dry up! (ภาษาสแลง) เงียบเสียที!
Quiet! อย่าเอะอะ! เงียบ!
Hush! เบาๆหน่อย! อย่าพูด!
Hark! ฟัง! (เป็นภาษาค่อนข้างโบราณ)
Tell that to the marines! อย่ามาพูดเลย ไม่มีใครเชื่อหรอก!
Halt! หยุด! (เป็นคำบอกแถวทหาร)
Right oh!, Right you are! ได้ครับ! ได้ซี!
Shoo! เสียงไล่นก ฯลฯ
‘Shun! ย่อมาจาก Attention เทียบกับไทย (แถว) ตรง!
Yum, yum! เป็นเสียงแสดงความอยากกิน เทียบกับเสียงสูดปากของไทย
Lo! (ภาษาโบราณ) ดูซี!
Eh! ใช้แสดงความแปลกใจหรือสงสัยหรือเป็นการซ้อมความเข้าใจหรือดักคอ คล้ายๆกับ ใช่ไหมล่ะ!
Oho! โอ้โฮ!
Ah! โอ! (แสดงความประหลาดใจ) โอ้ (แสดงความสงสาร)
Aha! เออแน่ะ ยังงั้นซี (แสดงความประหลาดใจ ความมีชัย ความพึงพอใจ)
Oh yez เจ้าข้าเอ๊ย (คำนี้เป็นภาษาเก่าแปลว่า ฟัง! ฟัง! เป็นคำที่พนักงานที่มีหน้าที่ประกาศร้องเตือนให้คนทั้งหลายฟังประกาศ)
All together! ทุกคนพร้อมกัน!
Balderdash! Poppycock! Fiddlesticks!, Stuff and nonsense, Bunkum เหลวไหล
No more of your cheek! อย่ามาทะลึ่งอีกเลย!
What a pity! เสียดายจริง! ไม่น่าเลย! ไม่ควรที่เลย!
What a nuisance! น่ารำคาญจริง!
What, again! บ๊ะ เอาอีกแล้วหรือนี่!
Come! Come! นี่พูดจริงๆนะ
Go on! มีสองความหมายคือ 1.ทำต่อไป! 2.อย่าพูดเหลวไหลน่า
Mind! ระวัง!
Come on! เร็วเข้า! ไม่เอาน่า!
Not at all! ไม่เป็นไรมิได้ (ใช้เป็นคำตอบเมื่อมีผู้แสดงความขอบใจ)
Look out! ระวัง! (ไม่ใช่ให้โผล่หน้าต่างออกไป)
Bother! อุบ๊ะ! ยุ่งจริง!
Why yes! อ๋อ ก็ถูกแล้ว (ไม่น่าถามเลย)
Why no! เอ๊ะ อย่างนั้นไม่ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น
Believe it or not! เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามใจ
You don’t say so! ยังงั้นเชียวรึนี่!
Let me see! ไหนเรื่องนั้น ขอคิดดูก่อน
Now เอาละทีนี้
Now then เอาละทีนี้
What of it? แล้วยังไงล่ะ
So what! แล้วยังไงล่ะ (ทันสมัยกว่า และเป็นภาษาแบบอเมริกัน)
That’s a dear ต้องยังงั้นคนดี (มักใช้พูดกับเด็ก เป็นการเอาใจให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้)
Oh, dear! พุทโธ่เอ๋ย! อพิโธ่! (แสดงความประหลาดใจ ความพิศวงงงงวย หรือความรำคาญ)
Dear me! อนิจจา
Alas อนิจจา
Alack อนิจจา (เป็นภาษาโบราณและภาษาหนังสือ)
Good Heavens! คุณพระช่วย (คำว่า Heavens ในที่นี้หมายถึง พระเจ้า ไม่ใช่สวรรค์)
Good gracious! ตายจริง
Goodness knows! มีสองความหมาย คือ 1.ฉันไม่รู้เลย 2.ขอให้พระเจ้าทรงเป็นพยาน คำว่า goodness ในที่นี้หมายถึง พระเจ้า
Goodness gracious! คุณพระคุณเจ้า! (คำว่า goodness หมายถึง พระเจ้า คำอุทานนี้ผู้ใช้มักเป็นผู้หญิง)
Capital! วิเศษณ์จริง!
Splendid! วิเศษณ์แท้!
Well done! ดีจริง
Good shot! แม่นจริง!
Well tackled! ต้องจับยังงั้นซี! (ใช้ในการชมกีฬารักบี้)
There! There! โอ๋! โอ๋! (คำปลอบเด็ก)
There you are! นั่นปะไร
Here it is! นี่ยังไงล่ะ! อ้อ มาแล้วรึ!
There’s a good boy! นั่นเด็กดีต้องยังงั้น
Hi! You there! นี่คุณคนนั้นน่ะ!
Hear! Hear! ถูกแล้ว ถูกแล้ว (เป็นเสียงร้องแสดงความเห็นด้วยกับผู้ที่กำลังแสดงสุนทรพจน์ แต่แปลตามตัวว่า ฟัง! ฟัง!)
Look here! นี่แน่ะ!
By the way เออ มีเรื่องอยากจะพูด
Look where you’re going! เอ ไม่มีตาหรือยังไง
Encore! ขอ (ฟัง) อีกที
That’s it ใช่แล้ว! ถูกแล้ว! ต้องยังงั้น!
Let him have it! ล่อมันเข้าสักทีเถอะนะ
Touche’ ถูกเผง
Keep at it! ทำเข้า (อย่าเลิก)
Not on your hair on! ใจเย็นๆนะ
You have me there! ฉันจนตรงนี้เอง
Here goes! เอาล่ะ ฉันจะพูดละ
Here’s to the bride and bridegroom ขอให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวจงมีความสุข (พร้อมยกแก้วเหล้าขึ้นดื่ม)
Very well! ยังงั้นก็ดีแล้ว
Oh well! เออ ทำยังไงได้
Oh no you don’t อ๋อ ทำยังงั้นไม่ได้แน่
Rather! พุทโธ่ ถามได้!
By all means เชิญเลย
Of course แน่นอน ไม่มีปัญหา
Certainly ได้สิ
Certainly not ไม่ได้แน่
No such luck! โชคไม่ดีอย่างนั้นหรอก!
Hard luck! โชคไม่ดีเลย
Just my luck! โชคฉันไม่ดีเอง โทษใครไม่ได้
Really? (เสียงสูง) จริงหรือ? (แสดงความประหลาดใจ)
Really! (เสียงต่ำ) ยังงั้นเรอะ (แสดงการเยาะเย้ย)
Really! (เสียงกลางๆ) ยังงั้นรึ (แสดงความไม่สนใจ)
Mum’s the word! อย่ากระโตกกระตากไป
Mum! เงียบ
Get set! ระวัง (เป็นคำที่ผู้ปล่อยตัวนักวิ่งร้องเตือนก่อนยิงปืน)
Ugh! อืย (แสดงความขยะแขยง)
Ouch! โอ๊ย อุ๊ย
Blah! เฮ้อ (แสดงความเอือมระอา)
Bah! ว้า อุวะ (แสดงความเหยียดหยาม)
Heigh-ho! เฮอ! (แสดงความเหนื่อยอ่อน ความผิดหวัง)
Wow! โอ้โฮ! แม่เจ้าโว้ย!
Go it! เอาเลย
Enough of that! พอที
What did I tell you? บอกแล้วไหมล่ะ
Catch me doing that! ฉันไม่มีวันทำยังงั้นหรอก
Stop thief! ขโมย! ขโมย!
Fire! ไฟไหม้
Who goes there? ใครนั่น? (เป็นคำทักของทหารยาม)
Heave ho! ฮุยเลฮุย! (ใช้เวลาดึงเชือก)
There he (she) goes. เขาเริ่มแล้วไหมล่ะ (แสดงความรำคาญคนพูดมากที่เริ่มพูด)
ข้อมูลจาก: rukenglish